การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง คลื่นกล ร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบนำตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ภาพิอร จันทำ
ณัฐพล รำไพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) พัฒนาสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง คลื่นกล ร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อ ส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ (80/80) 2) ศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและความสามารถ ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (SDL) ในรายวิชาฟิสิกส์ โดยใช้สื่อโมชันกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) ศึกษา ดัชนีประสิทธิผลความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนที่มีต่อการเรียนหลังจากเรียนรู้ผ่านสื่อโมชันกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโมชันกราฟิก เรื่อง คลื่นกล โดย กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนหอวังปทุมธานี จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อโมชันกราฟิก เรื่อง คลื่นกล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหอวังปทุมธานี 2) แบบทดสอบวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก เรื่อง คลื่นกล 3) แบบประเมินคุณภาพสื่อและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิก โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า T-Test


ผลการวิจัยพบว่า


1) การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง คลื่นกล ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับดี และมีประสิทธิภาพ 87.87/85.12 ตามเกณฑ์ที่กำหนด

2) ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (SDL) หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05


3) ดัชนีประสิทธิผลความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยสื่อโมชันกราฟิกเพิ่มขึ้นร้อยละ 80


4) นักเรียนมีความพึงพอใจมีต่อสื่อโมชันกราฟิก อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\tilde{x}=4.44)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

จงรัก เทศนา. (ม.ป.ป.). อินโฟกราฟิกส์ (Infogarphics). https://chachoengsao.cdd.go.th/wp-content/uploads/ sites/9/ 2019/01/infographics_information.pdf

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1) http://www4.educ .su.ac.th/2013/images/stories/081957-02.pdf

ทักษิณา สุขพัทธี และทรงศรี สรณสถาพร. (2560). การศึกษาแนวทางการออกแบบโมชันกราฟิกที่ส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12 (1), https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdihs journal/article/view/85225

เบญจวรรณ จุปะมะตัง และธวัชชัย สหพงษ์. (2560). การพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่อง ตำนานพระธาตุขามแก่น ในการประชุมวิชาการระดับชาติ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 3. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 3(2) https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/152881/111480

เผชิญ กิจระการ และสมนึก ภัททิยธนี. (2545). “ดัชนีประสิทธิผล”. วารสารการ วัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 8 : 30-36.

ภาสวัฒน์ เนตรสุวรรณ และจิรพันธุ์ ศรีสมพันธุ์ (2557). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง พื้นฐานคอมพิวเตอร์กราฟิกสำหรับหลักสูตรฝึกอบรมของบริษัท ที สแควร์ครีเอทีฟ จำกัด. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (Proceedings) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15. 1033-1046 http://gs.nsru.ac.th/files/1/91ภาสวัฒน์%20%20เนตรสุวรรณ.pdf

วรรณทิภา ธรรมโชติ (2562). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชา ส22101 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 .วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 5(2), https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/204220/158460

เวชยันต์ ปั่นธรรม(2560). ศึกษาการผลิตสื่อโมชันกราฟิกเรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล . [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2561). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2561 .

อภิฤดี ทาบุญ และธวัชชัย สหพงษ์. (2560). การพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่อง เล่าขานตานานเมืองฟ้าแดดสงยาง ใน การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.