การพัฒนาสื่อบัตรภาพร่วมเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนไมตรีอุทิศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อบัตรภาพร่วมเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของการเรียนรู้ด้วยสื่อบัตรภาพร่วม เทคโนโลยีความจริงเสริม 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยสื่อบัตรภาพร่วมเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ด้านประโยชน์ และปัญหาอุปสรรคที่มีต่อสื่อบัตรภาพร่วมเทคโนโลยี ความเป็นจริงเสริม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) สื่อบัตรภาพ ร่วมกับ เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง วัสดุรอบตัว 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง วัสดุรอบตัว / แบบสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน 3) แบบประเมินคุณภาพสื่อบัตรภาพร่วมเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง วัสดุรอบตัว 4) แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์แบบปรนัย 3 ตัวเลือก เรื่อง วัสดุรอบตัว 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ร่วมกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ t-test และค่าดัชนีประสิทธิผล ผลการวิจัยพบว่า
1) สื่อบัตรภาพร่วมกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีคุณภาพอยู่ในระดับ ดีมาก มีประสิทธิภาพ 87/90 ตามเกณฑ์ที่กำหนด
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มเป้าหมาย มีคะแนนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ .05
3) ค่าดัชนีประสิทธิผล ผลการวิจัยพบว่า เพิ่มขึ้น 0.82 หรือคิดเป็นร้อยละ 82
4) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อสื่อบัตรภาพร่วมเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม อยู่ในระดับที่เห็นด้วยมากที่สุด
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสาระ ภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ม.ป.ท.
กำจร ตติยกวี. (2559, 14 ตุลาคม). ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0. https://www.thaihealth.or.th/Content/33499
-ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่%20ไทยแลนด์%204.0.html
จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์. (2560, 01 เมษายน). นวัตกรรมการศึกษา. https://www.thaipost.net/main/detail/32641
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2556) การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 5 (1), 1-20.
ณรงค์ ล่ำดี. (2560). สื่อความจริงเสริมเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง สัตว์ป่าสงวนของไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.
คณะวิทยาศาสตร์สาธารณสุข มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
เผชิญ กิจระการ และสมนึก ภัททิยธนี. (2545) ดัชนีประสิทธิผล. วารสารการวัดผลการศึกษา : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8., 30-36
พัชรี นาคผง. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ัปญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร] http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/12345 6789/2661
พิชญะ กันธิยะ(2559). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่] https://so02.tci-thaijo. org/index.php/banditvijai/article/view/96255
พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน (2560). เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมส่งเสริมความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
อัครเทพ อัคคีเดช (2563). การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเรื่อง เครื่องดนตรีสากล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ] http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/han-le/123456789/786
Astuti, F. N., Suranto, S. &Masykuri, M. (2019). Augmented Reality for teaching science: Students’problem solving skill, motivation, and learning outcomes. ResearchGate. DOI:10.22219/jpbi. v5i2.8455, https://www.researchgate.net/publication/334125821_Augmented_Reality_for_teaching_science_ Students'_problem_solving_skill_motivation_and_learning_outcomes
Li, J. T., & Tong, F. (2019). Multimedia-assisted self-learning materials: the benefits of E-flashcards for vocabulary learning in Chinese as a foreign language. Reading and Writing, 32(5), 1175-1195.