การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสื่ออินโฟกราฟิกร่วมกับรูปแบบการสอน KWL เรื่อง สถิติ วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ศศิธร ใสสด
อัมพร วัจนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของสื่ออินโฟกราฟิก (Infographic) เรื่อง สถิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า และ 2) ศึกษาและ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้สื่ออินโฟกราฟิกร่วมกับการเรียนรูปแบบ KWL ในเรื่อง สถิติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้จากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่ออินโฟกราฟิก เรื่อง สถิติ จำนวน 12 ชิ้น พบว่ามีค่าเฉลี่ยผลการประเมินคุณภาพโดยภาพรวม เท่ากับ 4.38 อยู่ในระดับมากที่สุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 12 แผน ตรวจสอบความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้กับจุดประสงค์การเรียนรู้ พบว่าแผนการจัดการเรียนรู้กับจุดประสงค์การเรียนรู้มีความสอดคล้องกัน มีค่า IOC เท่ากับ 1.00 ทุกแผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (KR –20 ) เท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)


ผลการวิจัยพบว่า


1) สื่ออินโฟกราฟิก เรื่อง สถิติ มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.92/81.33 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ 80/80


2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียน KWL ร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก เรื่อง สถิติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

จงรัก เทศนา. (ม.ป.ป.) อินโฟกราฟิก (Infographics) https://chachoengsao.cdd.go.th/wp-content/uploadssites/9/ 2019 /01/infographics_information.pdf

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2556. การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร: ศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1) http://www4.educ. su.ac.th/2013/images/stories/081957-02.pdf

บุญชม ศรีสะอาด. 2553. วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. สุวีริยาสาส์น.

ปาณิสรา ศิลาพล และกอบสุข คงมนัส. (2560). ผลการใช้อินโฟกราฟิกร่วมกับกระบวนการเรียนแบบสืบเสาะที่มีต่อความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน. 10(2) https://www.journal.nu.ac.th/JCDR /article/view/1831

พัชรา วาณิชวศิน. (2558). ศักยภาพของอินโฟกราฟิก (Infographic) ในการเพิ่มคุณภาพการเรียนรู้: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พนมวรรณ ผลสาลี่. (2561). การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกตามทฤษฎีการถ่ายโยงความรู้ เรื่อง การออมเพื่ออนาคต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

วรากรณ์ สามโกเศศ. (2555). โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี 10 รวยเงินจริง รู้เงินแสร้ง. : มติชน.

สุวิทย์ มูลคํา และอรทัย มูลคํา. (2545). 21วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. ภาพพิมพ์.