การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3

Main Article Content

เรืองฤทธิ์ อรรคชัย
สินธะวา คามดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ของการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัด สํานักงานเขตพื้นที่ศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่ศึกษาการศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างได้มาโดย การเลือกแบบเจาะจง เป็นผู้บริหารและรองหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จํานวน 105 คน และระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทาง การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต3 ผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการสัมภาษณ์ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีตําแหน่ง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการ จํานวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


1. สภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการ พบว่า โดยรวมและแต่ละองค์ประกอบอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ พบว่า โดยรวมและแต่ละองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการวิจัยและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้านการแนะแนวการศึกษาและด้านการนิเทศการศึกษา ตามลำดับ


2. ผลการประเมินแนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560. กระทรวงศึกษาธิการ.

-------- . (2546). การบริหารสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล. กระทรวงศึกษาธิการ.

--------. (2551). คำชี้แจงประกอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. โรงพิมพ์การศาสนา.

กาญจน์ เรืองมนตรี และธรินธร นามวรรณ. (2554). การบริหารวิชาการและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้. ภาควิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธัชมัย ภัทรมานิต.และนันทรัตน์ เจริญกุล. (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(2), https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/143842/106421

นุชเรศ คำดีบุญ. (2564). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. http://202.28.34.124/dspace/bitstream/123456789 /830/1/58030580029.pdf

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). หลักการวิจัยเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 8. สุวีริยาสาส์น.

ปัญญา แก้วกียูร. (2545). ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ปฏิบัติจริงและบทบาทหน้าที่คาดหวังด้านวิชาการของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา. สำนักงาน ปฏิรูปการศึกษา.

มลชยา จี้สละ. (2558). แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา. ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์เขต 3. (2557). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. ุกลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์เขต 3.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2549). ตัวบ่งชี้การเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด. 21 เซ็นจูรี่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาของไทย. ุสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา. โรงพิมพ์ชุมชุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุรีรัตน์ โชติวิชาศิริกุล (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญาุมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. ภาพพิมพ์.

Piercy, G.E. (2007). “Illinois secondary Scholl Teachers of 1988-99 Introduction Year Activities,” Dissertation Abstracts International. 51(08) : 2950-A.

Smith, P.A. & Hoy, W. (2007). Academic Optimism and Student Achievement in Urban Elementary Schools. Journal of Educational Administration, 45(5), DOi-10.1108/09578230710778196 https://www.researchgat e.net/publication /235293801_Academic_optimism_and_student_achievement_in_urban_elementary_schools