การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายตามการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ลลิตา วงค์มลี
พงศ์ธนัช แซ่จู

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายตามการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) เพื่อศึกษาทักษะการคิดเชิงคำนวณ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็น โดยใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง เป็นการทดลองแบบกลุ่มเดียว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนฝายหิน หนองทุ่มหนองทองศึกษา อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียน บนเครือข่าย 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นให้ความรู้พื้นฐาน 2. ขั้นกระตุ้นความสนใจ 3. ขั้นจัดกลุ่มร่วมมือ 4. ขั้นแสวงหาความรู้ 5. ขั้นสรุปสิ่งที่เรียนรู้ 6. ขั้นนำเสนอผลงาน 3) แบบทดสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) แบบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณ 4 องค์ประกอบ คือ การแยกย่อย (Decomposition) การจดจำรูปแบบ (Pattern Recognition) การคิดเชิงนามธรรม (Abstraction) การออกแบบขั้นตอนวิธี (Algorithm Design) 5) แบบสอบถามความคิดเห็น


สรุปผลการวิจัย ดังนี้


1. ผลการศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่าย พบว่า บทเรียนบนเครือข่ายมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 87.20/80.45


2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (gif.latex?\bar{x}= 8.91, S.D.=2.99) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (gif.latex?\bar{x}=24.14, S.D.= 2.85) เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ .05


3. นักเรียนมีคะแนนทักษะการคิดเชิงคำนวณ ร้อยละ 90.63 (gif.latex?\bar{x}=3.63, S.D.=0.59)


4. ความคิดเห็นของผู้เรียน พบว่า ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.88, S.D.=0.31)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน. (2561). การพัฒนาชุดทดลองการเขียนโปรแกรมควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์ เบอร์ PIC16F877/16F84. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 2(1). https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247449

ชยการ คีรีรัตน์. (2562) การใช้กระบวนการแก้ปัญหาและโปรแกรม App Inventor พัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking: CT) สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารครุศาสตร์, 47(2). https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ EDUCU/issue/view/14478

ชนันท์ธิดา ประพิณ กอบสุข คงมนัส ช่อบุญ จิรานุภาพ และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนแบบโครงงาน เป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สาหรับ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(1).https://so06.tci-thaijo.org/index. php/edujournal_ nu/article/view/87316

ชิดชนก ภู่เพ็ชร์. (2562). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษา เรื่อง การออกแบบเกมคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนคร.

โชติกา สงคราม จักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม และวนินทร สุภาพ. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 12(1), 203-217.

ณรงค์พร เหล่าศรีสิน. (2563). คู่มือ micro:bit สำหรับ STEM และวิทยาการคำนวณ (พิมพ์ครั้งที่ 2). บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.

ณรงค์พร เหล่าศรีสิน. (2563). รวมโครงงาน micro:bit จับไอเดียแจ๋ว ใส่บอร์ดจิ๋ว. บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.

ธนัญญาณ์ สมหวัง และอลิสา ทรงศรีวิทยา. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบโรงงานเป็นฐาน วิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(2), 207-217.

นิตยา มั่นศักดิ์. (2560). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การสร้างและตกแต่งงานคอมพิวเตอร์กราฟิกด้วยโปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. http://www.edu.nu.ac.th/th/news/docs/download/2018_03_30_11_01_ 31.pdf

เบนยามิน วงษ์ประเสริฐ. (2563). คู่มือครู ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การเขียนโปรแกรม สำหรับควบคุมและใช้ งานบอร์ด micro:bit เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์โครงงาน. บริษัท ไทยร่มเกล้า จำกัด.

---------. (2563). หนังสือกิจกรรมเรียนรู้การเรียนโปรแกรม micro:bit สำหรับควบคุมและใช้งาน. บริษัท ไทยร่มเกล้า จำกัด.

ประสงค์ บรรจงเพียร และชัยยพล ธงชัยสุรัชต์กูล. (2562). สะเต็มคอมพิวเตอร์โดยโครงงานเป็นฐานสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยชุดควบคุมอัตโนมัติ. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(6), 2032-2045.

ภาสกร เรืองรอง รุจโรจน์ แก้วอุไร ศศิธร นาม่วงอ่อน อพัชชา ช้างขวัญยืน และศุภสิทธิ์ เต็งคิว. (2561). Computational Thinking กับการศึกษาไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, (10)3, 332-330.

วรเดช ทุมมะชาติ และมานิตย์ อาษานอก. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาและการคิดวิเคราะห์ระหว่างการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กับบทเรียนแบบเว็บเควสท์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาซีเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 301-312.

วัชราภรณ์ เพ็งสุข. (2560). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลสุพรรณบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(1), 1-13.

วีระพงษ์ จันทรเสนา และ มานิตย์ อาษานอก. (2563). การประเมินองค์ประกอบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โปรแกรมเชิงจินตภาพที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตวิจัย, 11(1), 44-54.

อุไรวรรณ ศรีไชยเลิศ และภานุวัฒน์ ศรีไชยเลิศ. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน ด้วยวิธีการเรียนแบบเพื่อนคู่คิดร่วมกับการเรียนแบบโครงงานเป็นฐาน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(1), 50-58.

เอกพิศิษฏ์ อุตรา พรรณี ลีกิจวัฒนะ และฐิยาพร กันตาธนวัฒน์. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมโดยใช้คำสั่งวนซ้ำ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(1), 45-51.

Awad A. Younis, Rajshekhar Sunderraman, Mike Metzler และ Anu G. Bourgeois. (2019). Case Study: Using Project Based Learning to Develop Parallel Programing and Soft Skills. IEEE Computer society, 20-24 May 2019. https://doi.org/10.1109/IPDPSW.2019.00059

Katalin Harangusa และZoltán Kátai.(2020).Computational Thinking in Secondary and Higher Education. Procedia Manufacturing, 2020(46), https://www.sciencedirect.com/science/ article/pii/S2351978920309665