การพัฒนาแบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร กลุ่มทักษะกำกับตนเอง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส

Main Article Content

ขวัญข้าว ตะติยรัตน์
ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร กลุ่มทักษะกำกับตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส 2) เพื่อจัดทำคู่มือการใช้แบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร กลุ่มทักษะกำกับตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 524 คน จากโรงเรียน 10 แห่ง ได้มาโดยการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัด ชนิดมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ 45 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ


ผลการวิจัยปรากฏว่า


1) แบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร กลุ่มทักษะกำกับตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส ที่ได้จากการสังเคราะห์องค์ประกอบและนำมาสร้างข้อคำถามโดยยึดองค์ประกอบของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและสถาบันอาร์แอลจีเป็นหลัก ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 10 ตัวบ่งชี้ แบบวัด ที่สร้างขึ้นมีคุณภาพดังนี้ คือ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาทุกข้อ ตรวจสอบอำนาจจำแนกรายข้อด้วยสถิติทดสอบที พบว่า ข้อคำถามสามารถจำแนกกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตรวจสอบความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ 0.954 ตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง ด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลองค์ประกอบแบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร กลุ่มทักษะกำกับตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์


2) การจัดทำคู่มือการใช้แบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร กลุ่มทักษะกำกับตนเองของนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส และตรวจสอบคู่มือการใช้แบบวัดโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านพิจารณาความเหมาะสมของคู่มือการใช้แบบวัด พบว่าค่าเฉลี่ยรวมมีค่าเท่ากับ 4.25 ซึ่งถือว่าคู่มือในภาพรวมมีความเหมาะสมใน ระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

เกดิษฐ์ จันทร์ขจร. (2560). การสร้างแบบวัดการบริหารจัดการของสมองขั้นสูง (ฉบับประเมินตนเอง) สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 15(2), 25.

โกศล จิตวิรัตน์. (2556). การวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ ด้วยโปรแกรม Mplus. วารสารสมาคมนักวิจัย, 2, 70–83.

จุลณรงค์ วรรณโกวิท. (2561). เด็กออกกลางครรภ์ (คัน) ภาพสะท้อนการแท้งของระบบการศึกษาไทย.[ออนไลน์] ได้จาก https://thaipublica.org [สืบค้นวันที่ 10 มีนาคม 2564]

จุฬินฑิพา นพคุณ. (2561). การพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยผ่านการสอนแบบมอนเตสซอรี่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 16(1), 78–79.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2560). การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตราฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย.

ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). ทักษะการคิดเชิงบริหาร (Executive Functions- EF) กับความพร้อมทางการเรียนในเด็กปฐมวัย. การสัมนา “การพัฒนาศักยภาพการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่น.”

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. สุวีริยสาสน์.

ประสพชัย พสุนนท์. (2557). ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 27(1).

ปราณี ทองคำ. (2539). เครื่องมือวัดผลทางการศึกษา.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พลูพงศ์ สุขสว่าง. (2557). หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างThe Basics of Structural Equation Modeling. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 2.

สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา. ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และ สถาบันอาร์แอลจี. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย.บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน).

สิริยากร กองทอง. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาวดี หาญเมธี. (2559). ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ. สถาบันอาร์แอลจี.[ออนไลน์] ได้จาก https://www.rlg-ef.com [สืบค้นวันที่ 10 มีนาคม 2564]

หทัยชนก พันพงค์. (2555). การพัฒนาแบบวัดการควบคุมตนเองสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brittany Warnick Morgan Drake and Stephanie Vidrine. (2015). Test Review: Delis Rating of Executive Function (D-REF). Psychoeducational Assessment, 33(6), 597–601.

Elisabeth Sherman and Brian L Brooks. (2010). Behavior Rating Inventory of Executive Function -Preschool Version (BRIEF-P): Test Review and Clinical Guidelines for Use. Child Neuropsychology.

Gerard A. Gioia Peter K. Isquith Steven C. Guy and Lauren Kenworthy. (2000). Behavior Rating Inventory of Executive Function. Florida.

Gioia, Gerard A. Peter K. Isquith, S. C. G. &Lauren K. (2000). Behavior rating inventory of executive function. Child Neuropsychology, 6, 235–238.

Russell A. Barkley. (2012). Barkley Deficits in Executive Functioning Scale Children and Adolescents (BDEFS-CA). Guilford Press.

Steven C. Guy Peter K. Isquith and Gerard A. Gioia. (2004). Behavior Rating Inventory of Executive Function Self-Report. Florida.