การพัฒนาความสามารถในการจำและความคงทนในการจำพยัญชนะไทย โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยจินตภาพกับการเล่าเรื่อง สำหรับนักเรียนระดับปฐมวัย

Main Article Content

ศุภัชญา ศุภเมธากร
ไพทยา มีสัตย์
อัญชลี ทองเอม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงทดลองนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการจำพยัญชนะไทยของนักเรียนระดับปฐมวัย หลังเรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยจินตภาพกับการเล่าเรื่อง  กับเกณฑ์ร้อยละ 70  2) ศึกษาความคงทนในการจำพยัญชนะไทย  3)  ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการจำพยัญชนะ กลุ่มตัวอย่าง  คือนักเรียนชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนไทยอินเตอร์เนชั่นแนลสคูล จังหวัดปทุมธานี จำนวน 17 คน  ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการจำตัวพยัญชนะไทย  3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้การจำพยัญชนะไทย  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติตรวจสอบสมมุติฐาน t-test for Dependent samples และ t-test for One sample


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการจำพยัญชนะไทยของนักเรียนระดับปฐมวัย  หลังเรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยจินตภาพกับการเล่าเรื่อง  นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (sig.=.000, t=5.237*)  2) ความคงทนในการจำพยัญชนะไทยของนักเรียนระดับปฐมวัย เปรียบเทียบคะแนนสอบครั้งที่ 1และครั้งที่ 2 มีระยะห่าง 2 สัปดาห์ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยทดสอบครั้งที่ 2 สูงกว่าทดสอบครั้งที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (sig.=.014, t=2.762*) 3) ผลการศึกษา นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านการจำพยัญชนะไทยมีคะแนนเฉลี่ยโดยภาพรวมเท่ากับ 2.72 อยู่ในระดับมาก


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. ( 2528 ). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์, (2535). เทคนิคการเล่านิทานในเทคนิคน่ารู้ควรคู่แก่เด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ

--------. (2561). นิทานผสานอักษร เล่ม 1 ก ถ ภ ฎ ฏ. กรุงเทพฯ: อักษร เนกซ์.

--------.(2561). นิทานผสานอักษร เล่ม 2 ข ช. กรุงเทพฯ: อักษร เนกซ์.

--------. (2561). นิทานผสานอักษร เล่ม 3 บ ป ษ. กรุงเทพฯ: อักษร เนกซ์.

---------. (2561). นิทานผสานอักษร เล่ม 7 ผ ฝ ย. กรุงเทพฯ: อักษร เนกซ์.

ฉวีวรรณ กินาวงศ์. (2543). การศึกษาเด็ก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ชนาทิป บุปผามาศ. (2553). การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบคำถาม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชัยพร วิชชาวุธ. (2520). ความจำของมนุษย์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพร กองสิน. (2562). การออกแบบสื่อกราฟิกเคลื่อนไหว 2 มิติ เพื่อช่วยในการจำพยัญชนะไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิตุ.

ทิพรัตน์ สัตระ. (2549). ผลการใช้เทคนิคผังกราฟิกในการสอนวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์์.

ธริตา นาคสวัสดิ์. (2558). การเล่านิทานประกอบภาพเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสะกดคำที่ประสมด้วยสระเปลี่ยนรูปของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสําหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ผกาพันธ์ เชฏฐาวิวัฒนา. (2560). การเขียนพยัญชนะไทยของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 จากการใช้รูปภาพประกอบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2544). การวิจัยการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ศรีวิไล เชาว์ปรีชา. (2550). การศึกษาพฤติกรรมความสุขของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมคุณค่าเพื่อชีวิต. วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมศักดิ์ ปริบุรณะ. (2550). นิทาน ความสำคัญและประโยชน์. ราชบุรี: สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

อารีญา เชี่ยวจอหอ. (2551). การใช้การเล่าเรื่องเพื่อเพิ่มความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Adams, J.A. (1967). Human Memory. New York: McGrew-Hill Book Company.

Aiex, N.K. (2006). Storytelling by Children. [online] Available from http://www.vtaide.com/png1ERIC/ Storytelling.htm [accessed October 13, 2020].

Allahmoradi, N. (2018). The Effect of Imagery Strategy on Learning Vocabulary Among Elementary Students of Iran., M.A., Ilam University, IRAN.

Atkinson, R.C.& Shiffrin, R.M. (1968). Human Memory: A Proposed System and Its Control Processes.

The Psychology of Learning and Motivation, pp.89-195. New York. Academic Press.

Avgerinou, M.D.& Pettersson, R. (2011). Toward a Cohesive Theory of Visual Literacy. Journal of visualliteracy. 30(2), 1-19.

Bloom, B.S. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York: McGraw-Hill Book Company.

Barton, K. (2013). Literacy and Dramatic Play: Storytelling with Props Increases Preschool Children’s Language Skills During Play. Alabama. University of Alabama. [online] Available from https://ir.ua.edu/ handle /12345 6789/1780 [accessed October 15, 2020].

Brown, & Cocking. (1999). How People Learn: Brain, Mind, Experience, and School. Washington, D.C.: National Academy Press. [online] Available from https://www.nap.edu/read/9853/chapter/1#ix [accessed October 15, 2020].

Chiara, F.T., Sara, A., Giulia, C. & Veronica, M. (2020). Learning by task repetition enhances object individuation and memorization in the elderly. Scientific Reports vol 10.

Coyle, Y., & Gomez Gracia, R. (2014). Using Songs to Enhance L2 Vocabulary Acquisition in Preschool Children. ELT Journal, 68(3), 276-285.

Dossey, B.M. (1997). Imagery in Core Curriculum for Holistic Nursing. Gaithersburg, Md: Aspen Publishers. Fuchs, L., Compton, D.L., Powell, S.R., Seethaler, P.M., Cappizzi, A.M., Schatschneider, C., & Fletcher,

J.M. (2006). The Cognitive Correlates of Third-Grade Skill in Arithmetic, Algorithmic Computation, and Arithmetic Word Problems. Journal of Educational Psychology 98(1), 29-43.

Gall, M. D., Borg, W. R., and Gall, J. P. (1996). Educational Research: An Introduction. Longman Publishing, New York.

Ishai, A., & Sagi, D. (1997). Visual imagery: Effects of Short- and Long-Term Memory. Journal of Cognitive Neuroscience, 9(6), 734–742.

Keogh, R., & Pearson, J. (2011). Mental imagery and visual working memory. PLoS ONE, 6(12), Article e29221.[online] Available from https://doi.org/10.1371/journal.pone.0029221 [accessed October 16, 2020].

Li-Yuan Wu. (2013). Children’s play and symbolic representation.National University of Tainan. Review of Global Management and Service Science, Vol. 3, 2013.

Malkina, N. (1995). Story telling in Early Language Teaching Russia. [online] Available from www//exchange.stage.gov/forum/vols/ vol00/no1/P38.htm [accessed October 16, 2020].

Marzano, R.J. (2001). Designing a New Taxonomy of Educational Objectives. Experts in Assessment. Thousand Oaks, California: Corwin Press.

Maydeu-Olivares, A. (2004). Thurstone Case V Model: A Structural Equations Modeling Perspective. Modeling Perspective, pp. 41-66.

Meesat, P. (2015). Somatically Enhanced Approach (SEA) in Intensive Thai Course for Academic Purposes. An Unpublished Ph.D. Thesis of the University of Canberra, Canberra.

Piaget, J. (1969). Biology and knowledge. Chicago: University of Chicago Press. Quak, M., London,

R. E., & Talsma, D. (2015). A Multisensory Perspective of Working Memory. Journal Frontiers in Human Neuroscience, Vol 9.

Stephens, R. L. (1993). Imagery: A Stragic Intervention to Empower Clients Part I-review of Research Literature. Clinical Nurse Specialist, 7(4), 170- 174.

Tiernan, P. J. (1994). Independent Nursing Interventions: Relaxation and Guided Imagery in Critical Care. Critical Care Nurse, 14(5), 47-51.

Thurstone, L.L. (1958). Primary Mental Abilities. Chicago : University of Chicago.

Yushinta, A., Sukarmin, & Suharno. (2020). Analysis of Student’s Creative Thinking Skills Profiles on Work and Energy Topics. AIP Conference Proceeding 2296. [online] from ttps://aip.scitation.org/doi/abs/10.1063/5.0030396 [Retrieved October 16, 2020].