การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

รุจิรา เศารยะสกุล
ศุภโชค สอนศิลพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาการคิดเชิงคำนวณของผู้เรียนโดยใช้เว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการเรียนรู้ แบบโครงงานเป็นฐาน วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้การทดลองขั้นต้นที่มุ่งเน้นส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณกับกลุ่มทดลองเพียงกลุ่มเดียว กลุ่มทดลองที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโนนฟันเรือบะยาววิทยา อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน 3) แบบทดสอบหลังเรียนโดยใช้เว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน 4) แบบวัด การคิดเชิงคำนวณของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้, ค่าความยากง่ายของแบบทดสอบ, ค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ, และค่า ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ


สรุปผลการวิจัย ดังนี้


1. เว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนเนื้อหาบทเรียน (Content) 2) ส่วนแสดงผลการตอบกลับ (Feedback) 3) ส่วนพัฒนาโครงงาน (Blockly)


2. นักเรียนมีคะแนนการคิดเชิงคำนวณ ร้อยละ 82.81 (gif.latex?\bar{x} = 4.14, S.D. = 0.94) อยู่ในระดับดี


3. เว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 84.00 และมีประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 81.25 ดังนั้น เว็บแอปพลิเคชันจึงมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.00/81.25

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จรัส พงเจริญ. (2560). ผลการเรียนด้วยเว็บแอปพลิเคชันการศึกษาโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนโปรแกรมบนเว็บของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชนันท์ธิดา ประพิณ, กอบสุข คงมนัสและวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21(1), 30-47. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://so06.tcithaijo .org/index.php/edujournal_nu/article/view/87316/124895 [สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563].

ชยการ คีรีรัตน์. (2562). การใช้กระบวนการแก้ปัญหาและโปรแกรม App Inventor พัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking: CT) สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 47(2), 31-47. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/195892/136149. [สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2563].

โชติกา สงคราม, จักรกฤษ กลิ่นเอี่ยมและสนินทร สุภาพ. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ความน่าจะเป็นสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 12(1), 203-217. [ออนไลน์]. ได้จาก:https://so05.tcithaijo. org/index.php/suedureasearchjournal /article/ download /187496 /167280/[สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2563].

ดาวรถา วีระพันธ์. (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บแอปพลิเคชั่น.วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 15(1), 145-154. [ออนไลน์] ได้จาก:http://it.rmu.ac.th/itmjournal/assets/uploads/ formidable/6/5-1-13-145-154.pdf. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2563].

ดุษฎี โยเหลาและคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: หจก.ทิพยวิสุทธิ์.

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่20. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์จำกัด.

นิพนธ์ บริเวธานันท์, สัญชัย พัฒนสิทธิ์และศศิฉาย ธนะมัย. (2562). การพัฒนารูปแบบเว็บแอปพลิเคชันด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านห้องเรียนไร้กรอบ เพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 15(2), 144-162. [ออนไลน์]. ได้จาก:https://so05.tci- thaijo.org/index.php/pkrujo/article/view/242200/ 164676. [สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2563].

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ผนวกเดช สุวรรณทัต. (2561). ทักษะการคิดเชิงคำนวณ. [ออนไลน์]. ได้จาก:https://wtr.ipst.ac.th/panuakdej/ [สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563].

พรศิริ สังข์ทอง. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานเป็นทีม ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์). (1), 14-29. [ออนไลน์]. ได้จาก:https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ rmutsbhs/article/view/126107/98375 [สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563].

แมน จตุพงศ์ชัย, สังคม ภูมิพันธุ์และสมโชค เฉตะการ. (2558).การเปรียบเทียบผลการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยีวิชาคอมพิวเตอร์เรื่อง ฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 ด้วยบทเรียนบนเว็บแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กับการจัดเรียนรู้แบบโครงงาน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 38(1), 79-89. [ออนไลน์]. ได้จาก:https://so02. tcithaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/download/47841/39704/ [สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563].

ยืน ภู่วรวรรณ. (2561). วิทยาการคำนวณ คืออะไร?. [ออนไลน์]. ได้จาก:https://school.dek-d.com/blog/ kidcoding/computational-science/ [สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563].

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.