การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยด้วยการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ดีอาร์-ทีเอ (DR-TA: Directed Reading-Thinking Activity) ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ธนาธิป เสือขำ
ไพทยา มีสัตย์
อัญชลี ทองเอม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดีอาร์-ทีเอ (DR-TA: Directed Reading-Thinking Activity) กับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาภาษาไทยก่อนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดีอาร์-ทีเอ (DR-TA: Directed Reading-Thinking Activity) กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนานาชาติแอสคอตจำนวน 25 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาไทย 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทย 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดีอาร์-ทีเอ (DR-TA: Directed Reading-Thinking Activity) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ Dependent Samples T-Test และ One Sample T-Test ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ดีอาร์-ทีเอ (DR-TA: Directed Reading-Thinking Activity) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (sig.= .043, t= 2.142*) 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (sig.= .000, t= 14.653*) และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดีอาร์-ทีเอ (DR-TA: Directed Reading -Thinking Activity) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.75, S.D. = 0.60)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กอบกุล สกุลแก้ว. (2553). การศึกษาความสามารถอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับหูตึงจากการสอนอ่านแบบ DR-TA (Directed Reading-Thinking Activity. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ .

โกชัย สาริกบุตร. (2540). ศิลปะการสื่อความหมาย. กรุงเทพฯ: คอมแพคท์พรินท์.

ขวัญฤทัย มุลทาทอง. (2560). ผลการสอนด้วยวิธี DR-TA เสริมด้วยวิธี Story impression และการใช้คำถาม 5W1H ต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

บันลือ พฤกษะวัน. (2557). แนวพัฒนาการอ่านเร็ว-คิดเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2543). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: พีเอ็นการพิมพ์.

ปริยทิพย์ บุญคง. (2546). การศึกษาปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปิยาภรณ์ โคตรชมภู. (2556). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยกลวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษสําหรับผู้พูดภาษาอื่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

พัชรี สุวรรณสอาด. (2560). Thailand 4.0: ส่งเสริมเยาวชนไทยใส่ใจการอ่าน. วารสารอินทนิลทักษิณสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 12(3), 187-209.

รจนา ปัตถา. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT เสริมด้วยการสอนอ่านแบบ DR-TA ต่อความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญา​ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์และคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิไลพร อินทร์นอก. (2560). การอ่าน…กับวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.acn.ac.th/articles/mod/forum /discuss.php?d=297 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 5 มิถุนายน 2564].

แววมยุรา เหมือนนิล. (2553). การอ่านจับใจความ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศุภรณ์ ภูวัด. (2553). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์ เขตสวนหลง กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://pisa thailand.ipst.ac.th/news-12/ [สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 มีนาคม 2563].

สมพงษ์ จิตระดับ. (2562). PISA สะท้อนคุณภาพการศึกษาไทย. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.komchadl uek.net/news /edu-health/403007 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 มีนาคม 2563].

สุโท เจริญสุข. (2552). จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

อำนาจ วิชยานุวัติ. (2562). สพฐ.ปรับจุดอ่อนการอ่านเด็กไทย. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.dailynews .co.th/edu cation/745102 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 มีนาคม 2563].

เอกลักษณ์ เทพวิจิตร. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA (Directed Reading - Thinking Activity). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Anderson, L.W., Krathwohl, D. R., Airasian, P. W., Cruikshank, K. A., Mayer, R. E., Pintrich, P. R., Wittrock, M. C. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing. London: Longman.

Grabe William. (2009). Reading in Second language. New York: Cambridge University Press.

Leli Sari. (2017). Improving Reading Comprehension Through Directed Reading Thinking Activity (Drta) Strategy for The Eight Grade Students of Smp Negeri 17 Medan in The Academic Year of 2016-2017. Master Thesis, Department of English Education, Faculty of Tarbiyah Science and Teachers Training State Islamic, University of North Sumatera, Medan.

Maisarah Sarona. (2018). Using Direct Reading Thinking Activity (DRTA) Technique to Teach Reading Comprehension for Eleventh Grade Students. Bachelor Thesis, Department of English Language Education, Faculty of Education and Teacher Training, State Islamic University, Indonesia.

Megawati Ida. (2018). The Effect of Using Directed Reading - Thinking Activity on the Students Reading Comprehension viewed from the Students Motivation (Quasi Experimental Research of 8th Grade of MTs Muhammadiyah Trucuk, Klaten in the Academic Year of 2017/2018. Master Thesis, Department of Language Studies, Department of Language Studies, University Muhammadiyah, Surakarta, Jakarta.

Snowball & Diane. (2005). Teaching Comprehension 6-9: An Interactive Professional Development Course. Australia: Australian United States Services in Education.

Stauffer, R.G. (1969). Directing Reading Maturity as a Cognition Process. New York: Harper & Row.

Tierney, Robert J., John E. Readence and Ernet L. Dishner. (1995). Reading Strategies and Practices. 3rd ed. Massachusetts: Allyn and Bacon.