การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานโดยใช้เทคนิค TOP- 5 STEPS Model เรื่อง การเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ ระดับ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานโดยใช้เทคนิค TOP-5 STEPS Model เรื่อง การเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ ระดับ 1 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานโดยใช้เทคนิค TOP-5 STEPS Model เรื่อง การเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ ระดับ 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ นักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม สาขาครุศาสตร์อุตสาหการเชื่อมประกอบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ผลการวิจัย พบว่า 1. หลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานโดยใช้เทคนิค TOP-5 STEPS Model เรื่อง การเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ ระดับ 1 พบว่า ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา การจัดกิจกรรมฝึกอบรม สื่อ การวัดประเมินผล การจัดกิจกรรมการฝึกอบรมเป็นแบบผสมผสาน โดยใช้แบบเผชิญหน้าในการอบรมแบบทฤษฏีในห้องอบรมและปฏิบัติในโรงฝึกงาน และการอบรมยังให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ในห้องเรียนออนไลน์ผ่านสื่อวีดิทัศน์ ซึ่งผู้วิจัยใช้รูปแบบการฝึกอบรมโดยใช้สมรรถนะเป็นฐาน ด้วยรูปแบบผสมผสานโดยใช้เทคนิค TOP-5 STEPS Model ซึ่งเป็นเทคนิคการฝึกอบรมที่มุ่งให้ผู้รับการฝึกอบรมเกิดสมรรถนะวิชาชีพตามที่พึงประสงค์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความรู (Knowledge) ทักษะ (Skill) และทัศนคติ (Attitudes) โดยมีขั้นตอน 5 ขั้นตอนประกอบด้วย1) ขั้นการวิเคราะห์สมรรถนะ 2) ขั้นการให้ความรู้และทักษะ 3) ขั้นการฝึกประสบการณ์ 4) ขั้นประเมินสมรรถนะ 5) ขั้นวิเคราะห์และสรุปผล หลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานโดยใช้เทคนิค TOP-5 STEPS Model เรื่อง การเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ ระดับ 1 ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีคุณภาพความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.60
2. ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานโดยใช้เทคนิค TOP-5 STEPS Model เรื่อง การเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ ระดับ 1 ซึ่งประกอบด้วย 4 หัวข้อเรื่อง ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมก่อนการปฏิบัติงาน 2) การเชื่อมงาน 3) การจัดเก็บหลังปฏิบัติงาน โดยใช้วิธีบรรยาย 4) การเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ ระดับ 1 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ความเข้าใจ ภาคทฤษฎี หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 และความสามารถในด้านทักษะปฏิบัติงานเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือระดับ 1 มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 80.00 และหลักสูตรฝึกอบรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
Downloads
Article Details
References
กระทรวงแรงงาน. (2564). พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.mol.go.th/laws/?law [สืบค้นเมื่อ วันที่ 14 มิถุนายน 2564].
กฤช สินธนะกุล. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูคอมพิวเตอร์เพื่อวางแผนการสอนแบบผสมผสาน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
คุณาพร วรรณศิลป์. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูด้วยรูปแบบผสมผสาน เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
เฉลิมพล บุญทศ. (2562). ศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพช่างจิ๊กฟิ๊กเจอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์เทคโนโลยีและสารสนเทศดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ชมพูนุท เมฆเมืองทอง. (2553). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมการสร้างแบบทดสอบมาตรฐานวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ณัชชา วชิรหัตถพงศ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานโดยใช้ M-training และการฝึกอบรมแบบเผชิญหน้า เรื่องการใช้กระดานอัจฉริยะ สำหรับครูสังกัดโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการฝึกอบรม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิชัย คุ้มมณี. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพช่างก่อสร้าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Guzzo, T., Grifoni, P. and Ferri, F. (2012). Social Aspects and Web 2.0 Challenges in Blended Learning. P. Anastasiades (ed.). Blended Learning Environments for Adults: Evaluations and Frameworks (Vol. 1, p. 35-49). Hershey, PA: Information Science