การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบการจัดการมูค (MOOCs) รายวิชาการคิดเชิงระบบ

Main Article Content

ภูเบศ เลื่อมใส

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบ การจัดการมูค (MOOCs) รายวิชาการคิดเชิงระบบ 2) ทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบการจัดการมูค (MOOCs) รายวิชาการคิดเชิงระบบ และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบการจัดการมูค รายวิชาการคิดเชิงระบบวิธีดําเนินการวิจัยแบ่ง ออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ Mooc รายวิชาการคิดเชิงระบบ 2) การทดสอบประสิทธิภาพ รูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบการจัดการมูค รายวิชาการคิดเชิงระบบ และ 3) การประเมินความเหมาะสมรูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบการจัดการมูค รายวิชาการคิดเชิงระบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ที่ลงทะเบียนเรียน รายวิชาการคิดเชิงระบบ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) รูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบการจัดการมูค รายวิชาการคิดเชิงระบบ 2) แบบทดสอบรายวิชาการคิดเชิงระบบ 3) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบการจัดการมูค รายวิชาการคิดเชิงระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ 1) ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การทดสอบประสิทธิภาพ E1/ E2 3) การทดสอบค่าสถิติ t-test


ผลการวิจัยพบว่า


1. รูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบการจัดการมูค รายวิชาการคิดเชิงระบบ มีองค์ประกอบหลักของรูปแบบ คือ 1) ปรัชญา วิสัยทัศน์ ปณิธาน วัตถุประสงค์ 2) รูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบการจัดการมูค รายวิชาการคิดเชิงระบบ มีองค์ประกอบย่อย คือ  (1) บทเนื้อหา (2) การจัดการเรียนการสอน MOOCs (3) กิจกรรมการเรียนการสอน MOOCs (4) การวัดและประเมินผล และ          (5) ปฎิสัมพันธ์และการสื่อสาร 3) ขั้นตอนของรูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบการจัดการมูค รายวิชาการคิดเชิงระบบ คือ         (1) คำแนะนำรายวิชา (2) ประเมินก่อนเรียน (3) ศึกษาเนื้อหาบทเรียนวีดิทัศน์ (4) กิจกรรม อภิปราย/ค้นคว้าเพิ่มเติม (5) ประเมินระหว่างเรียน และประเมินหลังเรียน


2. ผลการทดสอบประสิทธิภาพ E1 / E2 = 85.30 /86.63 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้


3. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบการจัดการมูค รายวิชาการคิดเชิงระบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในเกณฑ์ “เหมาะสมมาก”

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2556). เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย และ สุรพล บุญลือ. (2558). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์

เทคนิคการสอนงานปฏิบัติในหน่วยงาน.วิทยานิพนธ์ คอ.ด. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วิลาวัลย์ มาคุ้ม. (2556). รูปแบบการสอนกระบวนการคิด กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพ ฯ : ชมรมเด็ก.

ภาสกร ใหลสกุล .(2557). การออกแบบการเรียนการสอนบนเว็บในระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System Design:ISD). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.edtechno.com/1/ [สิบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563]

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2556). MOOCs PEDAGOGY : จาก OCW, OER สู่ MOOC เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนยุคดิจิทัล. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิงประจำปี 2556

จันทร์พิมพ์ สายสมร. (2552). จิตวิทยาการเรียนรู้กับการสอน. กรุงเทพฯ: กราฟิกอาร์ต.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประคอง กรรณสูต. (2541). สถิติเพื่อการวิจัยคำนวณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

Center of Teaching and Learning Technology. (2014). MOOC Production Guidelines at the University of British Columbia.niversity of British Columbia. March 27.

Gustafson, K., & Branch, R. M. (1997). Instructional design models. Syracuse, NY: ERIC Clearinhouse on Information and Technology.

Grainger. B. (2013). Massive Open Online Course (MOOC) Report. University of London International Programmers.

Goss & Leinbach. (1996) . Instruction and the Online Learning Environment. Larchmont, New York : Eye on Education.

Sebastian Thrun. (2011). Model of Teaching. 3rd ed. Englewood Cliffs : Prentice-Hall,