การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

สุรชัย สุขรี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน คือ หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเมืองพลพิทยาคม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แนวคิดทฤษฎีการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การสนทนากลุ่มของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการทดลองใช้และประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test)


ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน พบว่านโยบายและ จุดหมายการจัดการศึกษามีความคาดหวังในการจัดการเรียนรู้คือมุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 เน้นทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ส่งเสริมความสามารถในการการคิดด้านต่างๆ เน้นการปฏิบัติงานของนักเรียน การศึกษาค้นคว้าในทุกที่ ทุกเวลา ทั้งที่บ้านและในเวลาว่างนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ นักเรียนและครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีความต้องการในการพัฒนารูปแบบ การเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมาก
2. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนการสอน การประเมินผลและปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอน มีชื่อว่า “SRPDE Model” มีกระบวนการจัดการเรียนการสอน 5 ขั้น คือ 1) ศึกษาเนื้อหานอกชั้นเรียน (Study: S) 2) ทบทวนและเตรียมความพร้อม (Review: R) 3) ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน (Practice: P) 4) อภิปรายและสะท้อนความรู้ (Discus: D) 5) สรุปและประเมินผลการเรียนรู้ (Evaluation: E) โดยที่รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมามีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.79/80.51 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 คิดเป็นร้อยละ 80.21 และ 80.54 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 75 ขึ้นไป 2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนหลังเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีพัฒนาการที่สูงขึ้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์


4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ชนก ผลจันทร์. (2561). การศึกษาความสามารถในการสื่อสารและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

จิระ ดีช่วย. (2554) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึมร่วมกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้าง มโนทัศน์ทางชีววิทยาและความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญยงค์ ตาลวิลาส (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือแบบ TAI เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม. (2561). รายงานผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2561. ขอนแก่น : โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น.

______. (2562). รายงานผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2562. ขอนแก่น : โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น.

วิจารณ์ พานิช. (2555). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พรินติ้ง แมสโพรดักส์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2551). การศึกษาแนวโน้มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์นานาชาติ. [ออนไลน์] ได้จาก http://timssthailand.ipst.ac.th/timss/reports. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564.

_____. (2555). สรุปผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2011 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.[ออนไลน์] ได้จาก http://timssthailand.ipst.ac.th /timss/reports. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564.

_____. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. [ออนไลน์] ได้จาก http://www.scimath.org.สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564.

สิริพร ทิพย์คง. (2554). เป้าหมายของการเรียนคณิตศาสตร์. วารสารคณิตศาสตร์, 56 (599-601), 16–17

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2555). พัฒนาทักษะการคิดตามแนวปฏิรูปการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้นติ้ง. Bergmann, J. and Sams, A. (2012). Flip Your Classroom : Reach Every Student in Every Class Every Day. United States of America: ISTE and ASCD.

Polya, George. (1957). How to Solve it. New Jersey: Princeton University Press.

Tracey Muir & Vince Geiger. (2016). The Effect of Flipped Classroom on Students’ Engagement. Technology, Knowledge and Learning: Springer Nature.