การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรมเครื่องกลของนักเรียนนายเรือ ด้วยบทเรียนออนไลน์โปรแกรม Moodle

Main Article Content

ฤชา รัตนศีล
พีระพงษ์ พรมจันทร์

บทคัดย่อ

    รู้ตลอดเวลา และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้สถานศึกษามีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนด้วยการใช้เทคโนโลยีทั้งแบบสื่อเสริมและสื่อเติม รวมถึงเป็นสื่อหลักที่ใช้แทนการบรรยายในห้องเรียน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์วิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรมเครื่องกล ด้วยโปรแกรม Moodle 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนนายเรือ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนนายเรือที่มีต่อการเรียนด้วยบนเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนนายเรือชั้นปีที่ 3 สาขาวิศวกรรมเครื่องกลเรือ ประจำปีการศึกษา 2562 และ 2563 จำนวน 30 คน โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน ใช้รูปแบบการเรียนโดยบทเรียนออนไลน์ ด้วยโปรแกรม Moodle และกลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน ใช้รูปแบบการเรียนโดยผู้สอนบรรยายในห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์วิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรมเครื่องกล มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาด้วยค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 2) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนนายเรือที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ มีค่าความเที่ยงตรง เชิงเนื้อหาด้วยค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที


ผลการวิจัยพบว่า


1) คุณภาพบทเรียนออนไลน์วิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรมเครื่องกลโดยรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.49 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่า กลุ่มควบคุมที่เรียนโดยผู้สอนบรรยายในห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


3) ความพึงพอใจของนักเรียนนายเรือในกลุ่มทดลองที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์วิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรมเครื่องกล ด้วยโปรแกรม Moodle มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

จารุวรรณ กาฬภักดี และทศพร แสงสว่าง. (2559). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบนำตนเอง เรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 6(11), 18-25.

ไชยรัตน์ ไวยลาภ. (2551). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาระเบียบวิธีวิจัยโดยการสอนแบบบรรยายกับวิธีการสอนแบบออนไลน์ระบบ LMS. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 16(3), 12-22.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). Designing – บทเรียนออนไลน์ หลักการออกแบบและสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญธร เมธาลักษณ์ และ คนอื่น ๆ. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของสื่อการสอนโปรแกรม Moodle เรื่องการใช้ direct ophthalmoscope ในรายวิชาจักษุวิทยา หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. เวชบันทึกศิริราช, 12(3), 147-152.

นงนิภา ตุลยานนท์. (2553). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนผ่าน e-learning กับผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนตามปกติในวิชาการควบคุมและการตรวจสอบภายใน. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นภดล เลือดนักรบ, สุภาณี เส็งศรีและพิศิษฐ์ พลธนะ. (2560). ICT: เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 9(1), 70-80.

นฤมล พึ่งแก้ว. (2561). การใช้โปรแกรม Moodle e-learning ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน นักศึกษาชั้นปีที่ 1. ใน บรรเลง สระมูล (บรรณาธิการ) เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และสิ่งประดิษฐ์ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2561 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 18 กรกฎาคม 2561, ไทย, ปทุมธานี, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. หน้า 65-78.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 68. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ปดิวรัดา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยาและฐิตวีร์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2563). การเรียนการสอนแบบ E-Learningกับการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) เป็นสื่อรูปแบบใหม่ทางด้านการศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(1), 17-32.

ปัทมา นพรัตน์. (2548). e-learning ทางเลือกใหม่ของการศึกษา. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, 53(167), 15-16.

พรทิพย์ เกิดถาวร. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสร้างบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ LMS Moodle สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(1), 139-148.

พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560. (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก, หน้า 37-43.

โรงเรียนนายเรือ. (2564). ภารกิจ ปณิธาน และวัตถุประสงค์ของโรงเรียนนายเรือ. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.rtna.ac.th/page/task.html. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 เมษายน 2564].

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุรชาติ อาจทรัพย์ ศิรประภา ขันคำ และอภิภู สิทธิภูมิมงคล. (2558). ประสิทธิผลการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Moodle สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการกีฬา. Journal of Professional Routine to Research, 2, 81-89.

อาณัติ รัตนถิรกุล. (2558). ติดตั้งและบริหารระบบ e-learning ด้วย Moodle (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Best, J.W. (1981). Research in Education. 4th ed. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice Hall.