การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง งานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง งานและพลังงาน ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ห้องเรียน 1 ห้อง จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะความรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง งานและพลังงาน ทั้งหมด 7 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐานใช้ค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบ สืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง งานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง งานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มี ค่าเฉลี่ยการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
โดยสรุป การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง งานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคุณภาพที่เหมาะสม ที่พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ให้กับนักเรียนให้ดีขึ้น
Downloads
Article Details
References
กมลวรรณ กันยาประสิทธิ์. (2558). ประเด็นทางวิทยาศาสตร์กับสังคมเพื่อทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(2), 1–9. [ออนไลน์], ได้จาก : http://www.edu.buu.ac.th/webnew/j/y26v02.pdf. [สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563].
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศศักดิ์. (2556). ศึกษาแหงศตวรรษที่ 20 : แนวคิดปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : ซัดมีเดีย,
นัสรินทร์ บือซา. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2557). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์
ปาริชาติ ประเสริฐสังข์. (2556). การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(3), 129–141.
พลศักดิ์ แสงพรมศรี ประสาท เนืองเฉลิม และ ปิยะเนตร จันทร์ถิระติกุล. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ขั้นสูง และเจตคติต่อการเรียนเคมีของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปี ที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา กับแบบปกติ.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9, 401-418.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ. (2553). การสอนคิดด้วยโครงงาน : การสอนแบบบูรณาการ ทักษะใoศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
พัชรา พุ่มพชาติ. (2552). การจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : FTC (Thailand) การพิมพ์, 2.
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร. 2(2) : 49-56.
ภาณุพงศ์ โคนชัยภูมิ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถด้านการคิดเชิงระบบ. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1. ร้อยเอ็ด : มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.โรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร. (2563). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการวัดและประเมินผลคะแนน O-net. มหาสารคาม.
วิพรพรรณ ศรีสุธรรม. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4.วิทยานิพนธ์ ค.ม.,มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ศิรินภา ชิ้นทอง. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). การวัดประเมินผลเพื่อคุณภาพการเรียนรู้และตัวอย่างข้อสอบจากโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA). กรุงเทพฯ: เซเว่นพริ้นติ้งกรุ๊ป.
สำนักงานบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). การขับเคลื่อนการศึกษามัธยมศึกษาไทย 4.0 เพื่อการมีงานทำแห่งศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์], ได้จาก:https://secondary. obec.go.th/newweb/ wpcontent/uploads/2017/12/367-aw-all-e-Book.pdf [สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563].
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตบูรณาการการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ : ชุมชนการเกษตรแห่งประเทศไทย, 1-2.
สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558). สะเต็มศึกษา (ตอนที่ 2): การบูรณาการสะเต็มศึกษาสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน STEM Education (Part II): How to Integrate STEM Education in ClassroomTeaching. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 3, 154-160.
อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2556). “สะเต็มศึกษากับการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา,” วารสารสมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 19(5) : 15-18
อาทิยา พีระกาลกุล. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหkทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Albrecht. K. (1988). Brian Bulding. New Jarsey : Prentice–Hall Inc, 21.
Ceylan S., Ozdilek Z. (2015). Improveing a Sample Lesson Plan for Secondary Science Courses with in the STEM Education. Procedia – Social and Behavioral Sciences, 177, 223-228.
Cheng, Ying–Yao, Kun–Shia Liu and Chuan – Muh Chang. (2007). “The Effect of Creative Ploblem Solving Intruction on Elementary School Science Lessons Chinese,” Jounal of Science Education. 15(5) : 569–591. Crabbe, A.B. (1989). The Future Problem Solving Program. Educationnal Leadership. 47 : 27-29.Dorval, K.B.,
Isaksen, S.G. and D.J. Treffinger. (2000). Creative Approaches to Problem Solving : A Framework for Changer. Dubuque, Lowa : Kendall/Hunt : 436.
Isaken, S.G. and D.J. Treffinger. (1991). “Creative Learning and Problem Solving,” in Developing Minds : Program for Teaching Thinking. Costa Arthur : Alexandrial : Supervision and Curriculum Development, 89-93. Treffinger and others. (1995). “Creative Problem Solving : Overview of Educational Implications,” Educational Psychology Review. 7(3) : 301-312.
Wood, Colin. (2006). “The Development of Creative Problem Solving in Chemistry,” Chemistry Education Research and Practice. 7(2) : 96-113.