การศึกษาพัฒนาการทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การประเมินเพื่อการเรียนรู้

Main Article Content

ดวงพร ศรีครินทร์
สรียา โชติธรรม
อุษณี ลลิตผสาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพัฒนาการทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจากใช้การประเมินเพื่อการเรียนรู้ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre - Experimental Research) ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest - Posttest Design) กลุ่มที่ศึกษาคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทพศิรินทร์ จำนวน 1 ห้องเรียน เป็นนักเรียนชายจำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบตามความสะดวก (Convenience Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ลักษณะแบบวัดประกอบไปด้วยสถานการณ์ที่เกี่ยวกับประเด็นทางวิทยาศาสตร์จำนวน 3 สถานการณ์ ในแต่ละสถานการณ์มีคำถาม 5 ข้อ โดยแต่ละข้อมีจุดมุ่งหมายในการวัดความสามารถในแต่ละองค์ประกอบของทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ข้อกล่าวอ้าง หลักฐาน เหตุผลสนับสนุน ข้อกล่าวอ้างที่ต่างออกไป และการโต้แย้งกลับ ข้อคำถามทุกข้อมีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80 -1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละและคำนวณคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ ผลการวิจัยพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การประเมินเพื่อการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียน โดยมีนักเรียนที่มีพัฒนาการระดับสูงมาก 2 คน (ร้อยละ 6.67) พัฒนาการระดับสูง 10 คน (ร้อยละ 33.33) พัฒนาการระดับกลาง 15 คน (ร้อยละ 50.00) และพัฒนาการระดับต้น 3 คน (ร้อยละ 10.00)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กฤษฎา ทองประไพ. (2559). การพัฒนาทักษะการโต้แย้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ เป็นฐาน. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กฤษณะ อ่อนเอื้อน. (2558). แนวทางการประเมินเพื่อการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(2), 1-14.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

พรทิพย์ ไชยโส. (2546). หลักการและแนวทางในการวัดและประเมินผล. 60 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: ประมวลบทความทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ พีเอส พริ้นท์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

ลือชา ลดาชาติ และโชคชัย ยืนยง. (2559). สิ่งที่ครูวิทยาศาสตร์ไทยควรเรียนรู้จากโครงการประเมินผลนักเรียน นานาชาติ. วารสารปาริชาต, 28(2), 108-137.

ศิริชัย กาญจนาวสี. (2557). การคำนวณคะแนนพัฒนาการ (Gain Score). สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 1(1), 1-20. ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ ส

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สรัญญา จันทร์ชูสกุล. (2561). แนวคิด หลักการ และยุทธวิธีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(1), 14-28.

อัฒฑวินทร์ ธนเดชสำราญพงษ์. (2563). การประเมินเพื่อการเรียนรู้ (AFL). [ออนไลน์]. ได้จาก:https://inskru.com/idea/-M1_LCTzqfPOnRTrV1ol [สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 เมษายน 2564].

อัศวิน ธะนะปัด. (2558). การพัฒนาทักษะการโต้แย้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในหน่วยการเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อานุภาพ พ่วงสมจิตร. (2559). การศึกษาทักษะการอภิปรายโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

องอาจ นัยพัฒน์. (2553). การออกแบบการวิจัย: วิธีเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และผสมผสานวิธีการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Black, P., Harrison, C., Lee, C., Marshall, B. & Wiliam, D. (2002). Working inside the black box: Assessment for learning in the classroom. London, UK: King’s College London School of Education.

Driver, R., Newton P., and Osborne, J. (2000). Establishing the norms of scientific argumentation in classrooms. Science Education, 84(3), 287–312.

Florez, M.T. & Sammons P. (2013). Assessment for learning: Effects and Impact. Reading: CFBT Education Trust. Jones, C. A. (2005). Assessment for Learning, Learning and Skills Development Agency.[Online],. Available form http://dera.ioe.ac.uk/7800/1/AssessmentforLearning.pdf [accessed 15 November 2020].

Kuhn, D. & Udell, W. (2003). The development of argument skills. Child Development, 74(5), 1245-1260. Lin, S.S. & Mintzes, J. J. (2010). Learning argumentation skills through instruction in socioscientific issue: the effect of ability level. International Journal of Science and Mathematics Education, 8(6), 993-1018.

Northern Ireland curriculum. (2007). Assessment for learning for key stage 1&2. A PMB Publication.

OECD. (2018). PISA 2015 Results (Volume II): Policies and Practices for Successful Schools. [Online]. Paris: OECD Publishing. Available from: http://dx.doi.org/10.1787/9789264267510-en [accessed 1 December 2020].

Qualifications and Curriculum Authority (QCA). (2006). Assessment for learning Rethinking Classroom Assessment with Purpose in Mind. [Online]. Canada: Manitoba Education.Available from: http://www.edu.gov.mb.ca/k12/assess/wncp [accessed 15 June 2020].

Sadler, T. D. & Donnelly, L. D. (2006). Socioscientific Argumentation: The effects of content knowledge and morality. International Journal of Science Education, 28(12), 1463-1488.

The Partnership Management Board. (2007). Assessment for learning for key stages 1&2. Belfast: A PMB Publication.

Tomlinson, C. (2014). The differentiated classroom: Responding to the needs of all learners. 2nd ed. Alexandria. VA: ASCD.