การพัฒนาการเรียนรู้ เรื่องการสะท้อนของแสง โดยใช้โครงงานเป็นฐานของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

Main Article Content

ณัฐรดา ธรรมเวช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสะท้อนของแสง ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (2) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การสะท้อนของแสง โดยใช้โครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา MTA101 คณิตศาสตร์และฟิสิกส์ สำหรับมัลติมีเดีย และแอนิเมชัน 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เรื่อง การสะท้อนของแสง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสะท้อนของแสง และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การสะท้อนของแสง โดยใช้โครงงานเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสะท้อนของแสง ก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.97 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.82 และคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 7.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน เท่ากับ 1.58 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสะท้อนของแสง หลังผ่านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การสะท้อนของแสง โดยใช้โครงงานเป็นฐานอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.21, S.D. = 0.65) เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.60, S.D. = 0.66) ) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ความเหมาะสมของระยะเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (gif.latex?\bar{x}= 4.00, S.D. = 0.63)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

กัมปนาท คูศิริรัตน์ และนุชรัตน์ นุชประยูร. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน รายวิชาการตัดต่อวีดิทัศน์และ

เสียงของนิสิตระดับปริญญาตรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 13(1), 139-153.

ทิศนา แขมมณี. (2542). การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. วารสารครุศาสตร, 2(5), 3-30.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์. (2558). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในรายวิชามัลติมีเดียวและแอนิเมชั่น 2 มิติและ 3 มิติ.

วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 2(13), 36-41.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุข และราเชน มีศรี. (2551). การสอนคิดด้วยโครงงาน : การเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราตรี เสนาป่า และรัตน์ติพร สำอางค์. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานที่มีต่อทักษะ การเรียนรู้ขั้นพื้นฐานในศตวรรษ

ที่ 21 รายวิชาฟิสิกส์ เรื่องงานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5. ในการประชุมสัมมนาวิชาการและนำเสนอ

ผลการวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 16 , 332-343. สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ลริตา บุญทศ. (2557). การศึกษาความสามารถในการประกอบอาหารเรื่อง อาหารประจำชาติอาเซียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

ศิริพร ศรีจันทะ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาการจัดการเรียนรู้วิชา

คณิตศาสตร์ 1 ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 127-139.

ศิริวรรณ หะมิงมะ. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์ ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในสังคมพหุวัฒนธรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สวียา สุรมณี. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน ในรายวิชาการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับ

ปริญญาตรี. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 1047-1055.

สุรศักดิ์ บุญธิมา และศักดินาภรณ์ นันที (2562). การพัฒนาชุดกจิกรรมการเรียนรู้ เรื่องไฟฟ้าเคมี โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน

เป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเลย. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 170-183.

อัญชลี ทองเอม. (2561). การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์

และสังคมศาสตร์), 8(3), 185-199.

Bellanca, J., & Brandt, R. (2010). 21st century skills: Rethinking how students learn. IN: Solution Tree Press.

Best, J. W. (1981). Research in education. 4th. New Jersey: Prentice Hall.

Dewey, J. (1897). My Pedagogic Creed. In D. Efstratia. Percedia-Social and Behavioral Sciences, 152(2014),

-1260.

Niyomthai, S. (2010). Development of a Blended Vocational Instruction Model Using Project-Based Learning in

The Workplace to Develop Performance and Problem Solving Skills for Industrial Vocational Certificate

Students. (Doctoral dissertation). Chulalongkorn University, Thailand.

Simpson, J. (2011). Integrating project-based learning in an English language tourism classroom in a Thai

University Institution. Doctoral Thesis, Australian Catholic University.