การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

ดำรัส อ่อนเฉวียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์และนิสิตที่มีต่อการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบ เปิด 2) ศึกษาความต้องการการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาวิทยาลัยบูรพา และ 3) กำหนดรูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ผู้บริหารมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 53 ท่าน โดยความสมัครใจของผู้ให้ข้อมูล 2) อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 302 ท่าน ซึ่งได้มาโดยความสมัครใจของผู้ให้ข้อมูล 3) นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 395 คน โดยความสมัครใจของผู้ให้ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) ร่างรูปแบบ (Model) การจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาวิทยาลัยบูรพา 2) แบบประเมินร่างรูปแบบ (Model) การจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาวิทยาลัยบูรพา 3) แบบสอบถามเพื่อการวิจัยสำหรับผู้บริหารและคณาจารย์ และ 4) แบบสอบถามเพื่อการวิจัยสำหรับนิสิต
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความคิดเห็นของอาจารย์ และนิสิตที่มีต่อการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิด มีดังต่อไปนี้ 1) ควรมีหน่วยงานสนับสนุนการทำสื่อ MOOC 2) การพัฒนาระบบตอบสนองการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3) มีข้อกำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผลที่ชัดเจน 4) การพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะผู้เรียนสามารถ เรียนซ้ำได้ 5) การใช้รายวิชาในระบบ MOOC ในการจัดการเรียนการสอน 6) ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
2. ความต้องการการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า มีความต้องการที่สำคัญดังต่อไปนี้ 1) มีหน่วยงานสนับสนุนการผลิตรายวิชา MOOC 2) การสนับสนุนเรื่องการเข้าถึงบทเรียน 3) การพัฒนาระบบให้ครอบคลุม 4) การกำหนดรายวิชาที่สอดคล้องกับชีวิตและอาชีพ 5) กระบวนการพัฒนารายวิชาที่มีประสิทธิภาพ
3. การกำหนดรูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาวิทยาลัยบูรพา ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก คือ 1 ด้านการบริหารจัดการ 2 ด้านการวิเคราะห์ 3 ด้านการออกแบบการเรียนการสอน 4 ด้านการพัฒนา 5 ด้านการนำไปใช้ และ 6 ด้านการประเมิน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (2549). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2559. ชลบุรี : คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยบูรพา.

โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. (2561). ความเป็นมา Thai MOOC. [ออนไลน์] ได้จาก http://mooc.thaicyberu.go.th/

about-us/ [สืบค้นเมื่อวันที่ื่ 26 เมษายน 2562].

โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. (2561). แนวทางการพัฒนาอาจารย์เพื่อเตรียมความพร้อมในการสอนออนไลน์แบบเปิดสำหรับ

มวลชน. โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา : กรุงเทพฯ

ณฐภัทร ติณเวส. (2559). การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบ MOOC ของอุดมศึกษาไทย. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9(3), 1463-1479.

น้ำทิพย์ วิภาวิน และรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกลุ. (2557). Massive open online course (MOOC) กับความท้าทายของห้องสมุด

มหาวิทยาลัย. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมดแห่งประเทศไทยฯ, 7(1), 78-79.

พชร ลิ่มรัตนมงคล. (2556). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. รังสิตสารสนเทศ, 19 (2), 54-63.

มหาวิทยาลัยบูรพา. (2554). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ ปีงบประมาณ

พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๖๓. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา

วรวุฒิ มั่นสุขผล. (2557). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์โดยการเรียนรู้แบบร่วมกันเพื่อพัฒนาสมรรถนะการออกแบบ

อีเลิร์นนิงเพื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E–Journal Silpakorn University ,

(3), 784–799.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน), (2556). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2556 : กรุงเทพมหานคร

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้(องค์การมหาชน) (2560). รูปแบบการเรียนรู้สำหรับคนรุ่นใหม่.[ออนไลน์] ได้จาก

http://www.okmd.or.th/okmd-opportunity/FutureLearningPlatform/899/Digilearn_infographic [สืบค้นเมื่อวันที่ื่ 1 เมษายน 2561].

Kaplan Andreas M., Haenlein Michael (2016). Higher education and the digital revolution: About MOOCs, SPOCs,

social media, and the Cookie Monster, Business Horizons, Volume 59. [online] Available from http://www.science direct.com/science/article/pii/S000768131630009X [access 3 May 2020].

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and

Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Parson, R. (1997). An Investigation into Instruction Available on the World Wide Web. [On-line] Available from

http://www.osie.on.ca/~rparson/outId.html [access 2020, December 15]

Kolowich, S. (2013). The Professors who make the MOOCs. Chronicle ofHigher Education, 59(28), A20-A23.

[online] Available from http://chronicle.com/article/The-Professors-Behind-the-MOOC/137905/ [access 3 May 2020].

Gašević, D., Kovanović, V., Joksimović, S. & Siemens, G. (2014). Where is Research on Massive Open Online Courses Headed? A Data Analysis of theMOOC Research Initiative. International Review of Research in Open

andDistributed Learning, 15 (5), 134–176.