การพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ CIRC ประกอบชุดแบบฝึกเสริมทักษะที่ส่งเสริมการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

Main Article Content

พัชรี พรหมเสน
ธนารัตน์ เหล่าอรรคะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ CIRC ประกอบชุดแบบฝึกเสริมทักษะ ที่ส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ตามเกณฑ์ร้อยละ 70  2) พัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ CIRC ประกอบชุดแบบฝึกเสริมทักษะ ที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ตามเกณฑ์ร้อยละ 70  3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ CIRC ประกอบชุดแบบฝึกเสริมทักษะ ที่ส่งเสริมการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6  กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านดงลาน (คุรุรัฐประชาสรรค์) จำนวน 8 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ CIRC ประกอบชุดแบบฝึกเสริมทักษะ จำนวน 8 แผน  2) ชุดแบบฝึกเสริมทักษะที่ส่งเสริมการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ จำนวน 2 ชุด  3) แบบทดสอบย่อยท้ายแผนการจัดการเรียนรู้   4) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน  5) แบบสอบถามความพึงพอใจนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ CIRC ประกอบชุดแบบฝึกเสริมทักษะ ที่ส่งเสริมการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6  6)แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวงจรปฏิบัติการ 2 วงจร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยปรากฏ  ดังนี้


1. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ CIRC ประกอบชุดแบบฝึกเสริมทักษะ ที่ส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 วงจรที่1 การอ่านภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 66.88 และวงจรที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 78.75 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ตามที่กำหนดไว้


2. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ CIRC ประกอบชุดแบบฝึกเสริมทักษะ ที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 วงจรที่1 การเขียนภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 54.36 และวงจรที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 74.38 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ตามที่กำหนดไว้


3.  ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ CIRC ประกอบชุดแบบฝึกเสริมทักษะ ที่ส่งเสริมการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 มีค่าความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับ มาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.36,  S.D. = 0.40)


 


 


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์

การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จิรวรรณ มีมาก. (2559). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้

แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ประกอบแบบฝึกทักษะ. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ญาณินทร ไชยสงค์. (2562). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือ

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดวงเนตร ใจชัยภูมิ. (2559). การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ สำหรับนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

มหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2558). 200 กิจกรรมสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฝ่ายวิชาการโรงเรียนบ้านดงลาน (คุรุรัฐประชาสรรค์). (2560). รายงานการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านดงลาน

(คุรุรัฐประชาสรรค์). ร้อยเอ็ด.

_______. (2561). รายงานการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนบ้านดงลาน (คุรุรัฐประชาสรรค์).

ร้อยเอ็ด.

_______. (2561). รายงานการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียน บ้านดงลาน (คุรุรัฐประชาสรรค์) ร้อยเอ็ด.

พรทิพย์ ศักดิ์สิทธิ์ประถม. (2553). การพัฒนาชุดการเรียนการสอนเรื่อง จังหวัดนครสวรรค์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.

สถาบันราชภัฏนครสวรรค์.

ภัทรียา ดอนเตาเหล็ก. (2558). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ

ร่วมมือเทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สังวรณ์ ปรางประโคน. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค

CIRC ประกอบแบบฝึกของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค

จำกัด.

ไสว ฟักเขียว. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.

อภินันท์ ข่าขันมณี. (2559). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค

CIRC ประกอบแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตร

และการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน(ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Duane, J. E. (1973). Individualized Instruction Program and Materials. Englewood Cliffs, New Jersey: Educational

Technology Publication.

Kapfer, Phillip & Miriam, K. (1972). Instructional to Learn Package in American Education. Englewoog Cliffs,

New Jersey: Education Technology Publication.

Reed, C. (2007). 500 Activities for the Primary Xlassroom. Oxford: Macmillan. Stephen Kemmis & Robin

McTaggart. (1988). The Action Research Planer. Victoria: Deakin University.