การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ประกอบสื่อประสม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ประกอบสื่อประสม ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 75 / 75 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ ต่อการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารประกอบสื่อประสม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ต่อการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ประกอบสื่อประสม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 / 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 จำนวน 50 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ( Cluster Random sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร 15 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง สื่อประสม มีทั้งหมด 5 เรื่อง เรื่องละ 3 ชั่วโมง ได้แก่ 1) การทักทาย 2) ครอบครัว 3) อาหารและเครื่องดื่ม 4) กิจวัตรประจำวัน และ 5) การบอกทิศทาง 2) แบบประเมินความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบทดสอบปฏิบัติการฟัง ประเมินเป็นรายบุคคล โดยใช้เกณฑ์การประเมิน 3) แบบประเมินความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบทดสอบปฏิบัติการพูด ประเมินเป็นรายบุคคล โดยใช้เกณฑ์การประเมินแบบรูบิคส์ (Rubrics) นำคะแนนประเมินที่ได้มาแปลผล จัดอันดับคุณภาพ 4 ระดับ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนภาษาอังกฤษ ประกอบสื่อประสม โดยใช้เกณฑ์การประเมินแบบรูบิคส์ (Rubrics) จัดอันดับคุณภาพ 5 ระดับ
ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ประกอบสื่อประสม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง และการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 85.28/75.32 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75
2) ผลการศึกษาความสามารถในการฟัง และการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลักจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ประกอบสื่อประสม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง และการพูดภาษาอังกฤษ พบว่า ความสามารถในการฟังมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 77.40 ความสามารถในการพูดมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 75.20 3)ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ประกอบสื่อประสม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง และการพูดภาษาอังกฤษ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก ( = 4.56 และ S.D. = 0.06)
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กิดานันท์ มลิทอง. (2548) เทคโนโลยีการศึกษาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.
ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2549) คู่มือการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์.
ปณิตา ทำมิภักดิ์. (2558). การเปรียบเทียบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ ความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษ และความคงทนในการเรียนรู้ด้วยกิจกรรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารประกอบสื่อวีดิทัศน์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภรนุช อรรถาเวช. (2556) การพัฒนารายวิชาซ่อมเสริมภาษาอังกฤษ โดยใช้สื่อประสมเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษาและแรง
จูงใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุวรรณภูมิ. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยืน ภู่วรวรรณ. (2546) พจนานุกรมคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนต. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เยาวพร ศรีระษา. (2561) จัดกิจกรรมตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร(CLT) ประกอบชุดสื่อประสม เพื่อส่งเสริมทักษะการพูด
ภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โรงเรียนกมลาไสย. (2561) รายงานประจำปีการศึกษา 2561. กมลาไสย : โรงเรียนกมลาไสย.
สมนึก ภัททิยธนี. (2553) พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
Littlewood William T. (2007). Communicative and task-based language teaching in East Asian Classrooms.
London Cambridge University Press
Richard, Jack C. (2008) Beyond Training : Perspectives on language Teacher Education.United Kingdom :
Cambridge University.