การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดละหาร

Main Article Content

แสงดาว แซ่หลู

บทคัดย่อ

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดละหาร ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ และ 3)ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/3 ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาลวัดละหาร จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 2) ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ และ 3) แบบ
ประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 50 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test แบบ Dependent Samples


ผลการวิจัยพบว่า


1. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 94.73/87.92 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80


2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ย หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05                                                                                                             


3. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางด้านตณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 เฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 0.7260 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 72.60
 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.(2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (อายุ 3-5 ปี). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

-----------. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรรธศร น้อยนันตา. (2558). ผลการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์. [ออนไลน์]. ได้จาก : https://www.krooban nok.com/board_view.php?b_id=162609&b cat_id=16. [สืบค้นเมื่อวันที่: 20 เมษายน 2559].

กระทรวงศึกษาธิการ.(2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

-----------. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร : เบรน-เบส บุคส์.

กุลยา ตันติผลาชีวะ.(2547). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

-----------. (2551). หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรสโปรดักส์.

จันทร์ขาว กันทะสอน. (2558). การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2. [ออนไลน์] ได้จาก : https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=158160&bcat_id=16. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2559].

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). การจัดการเรียนรู้แนวใหม่. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้ง แอนด์พับลิสซิ่ง.

นพรัตน์ นามบุญมี.(2556). การพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มสืบสอบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและ การสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิมผกา จันตะวงศ์. (2558). ผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์. [ออนไลน์]. ได้จาก : https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=163825&bcat_id=16. [สืบค้นเมื่อวันที่: 20 เมษายน 2559].

เยาวพา เดชะคุปต์.(2554). กิจกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

รุ่งทิวา ปะระทัง.(2558). การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2. [ออนไลน์]. ได้จาก : https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=158302&bcat_id=16. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2559].

โรงเรียนเทศบาลวัดละหาร.(2559). รายงานการประเมินพัฒนาการระดับอนุบาล ประจำปีการศึกษา 2559. สังกัดเทศบาลเมือง บางบัวทอง.

lมใจ เด็ดแก้ว. (2558). ผลการพัฒนาความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ด้วยกระดาษสำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3. [ออนไลน์]. ได้จาก : https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=164952&bcat_id=16.[สืบค้นเมื่อวันที 20 เมษายน 2559].

สมพร ตอยยีบี. (2554). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รงเรียนเซนต์เทเรซา หนองจอก กรุงเทพฯ. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2547). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สิริพรรณ ตันติรัตนไพศาล.(2545). ศิลป์สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาศาสน์.

สุวรรณา เฟื่องฟู. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความพร้อมด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2. [ออนไลน์].ได้จาก https://www.kroobannok.com /board_view.php?b_id= 154302&bcat_id=16 [สืบค้นเมื่อวันที 20 เมษายน 2559].