รูปแบบการเรียนของนิสิตสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

อรนุช วราอัศวปติ ศรีสะอาด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนของนิสิตสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2. เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการเรียนของนิสิตแต่ละรูปแบบการเรียน สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2562 จำนวน 197 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม รูปแบบการเรียนของนิสิตสาขาวิชา คณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และแบบสอบถาม แนวทางในการส่งเสริมของนิสิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนของนิสิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยภาพรวมนิสิตสาขาวิชาคณิตศาสตร์มีพฤติกรรมรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบอิสระ และแบบมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ และนิสิตสาขาวิชาคณิตศาสตร์มีพฤติกรรมรูปแบบการเรียนรู้ แบบพึ่งพา แบบแข่งขัน และแบบหลีกเลี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ 2. แนวทางในการส่งเสริมการเรียนของนิสิตแต่ละรูปแบบการเรียน สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดังนี้ แบบแข่งขัน จัดกิจกรรมการเรียนที่เน้นส่งเสริมรายบุคคล/กลุ่ม เพื่อสนองตอบความสามารถของนิสิตแต่ละบุคคล แบบร่วมมือ จัดกิจกรรมที่เอื้อต่อการ ทำงานร่วมกันเน้นการมอบหมายหน้าที่ให้ชัดเจน เพื่อส่งเสริม การเป็นผู้นำ-ผู้ตามในการทำงาน หรือกิจกรรมกลุ่มแบบอิสระ จัดกิจกรรมที่หลากหลายและสอดคล้องกับธรรมชาติของนิสิต มอบหมายงานที่ไม่เน้นกำหนด กรอบตายตัว แบบพึ่งพา อาจารย์ต้องหากิจกรรมสำคัญๆ ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายคนมาช่วยกัน จัด ห้องเรียนแบบนั่งคู่ 2 คน โดยให้นิสิตเลือกเองตามใจชอบ กำหนดหรือจัดระบบที่ปรึกษาและอาจารย์ ควบคุมดูแลอย่างเหมาะสม แบบหลีกเลี่ยง จัดกิจกรรมการเรียนที่เน้นให้มีส่วนร่วมหรือกลุ่มสัมพันธ์ มอบหมายงานที่ให้มีบทบาท หน้าที่ในการจัดกิจกรรมกลุ่มให้ชัดเจน สร้างบรรยากาศการเรียนการสอนให้มี ความน่าสนใจ แบบมีส่วนร่วม อาจารย์และนิสิตร่วมกันออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มหรือ Active Learningการวัดและประเมินผล ควรมีทั้งการวัดและประเมินรายบุคคลและกลุ่ม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

นวลใย พิศชาติ, กัลยา เตชาเสถียร และศิริภัทรา จุฑามณี (2561). รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร. วารสารพยาบาลตำรวจ (10)1 173 – 179.

ประเวช เวชชะ. (2559). การบริหารหลักสูตร การสอน การวัดและประเมินการเรียนรู้. เชียงราย: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

ประสาท อิศรปรีดา. (2549). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6) ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ : สํานักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะ

กรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

Grasha, A. and S. Reichman. (1975). Workshop Handout on Learning Styles. Ohio : Faculty Research Center,

University of Cincinnati.

Honey, P. and A. Mumford. The Manual of Learning Styles. 2nd ed. Berkshire : Peter Honey, 1992.