การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ POLYA ร่วมกับ SSCS กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

Main Article Content

ลำดวน จำปาบุรี
ญาณภัทร สีหะมงคล

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ POLYA ร่วมกับ SSCS ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ POLYA ร่วมกับ SSCS ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน   3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ POLYA ร่วมกับ SSCS กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1  จำนวน 27  คน จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ POLYA ร่วมกับ SSCS  และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4/2  จำนวน  27  คน  จัดการเรียนรู้แบบปกติ  นักเรียนโรงเรียนชื่นชมพิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562   ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1)แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ POLYAร่วมกับ SSCS จำนวน 12  แผน 2) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 12  แผน 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเรื่องความน่าเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4)แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง เรื่องความน่าเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และสถิติทดสอบที ( t-test)  


           ผลการวิจัยพบว่า 1)ผลการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของ POLYA ร่วมกับ SSCSหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2)ผลการศึกษาเปรียบเทียบความสามรถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของ POLYA ร่วมกับ SSCSหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3)ผลการศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง นักเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของ POLYA ร่วมกับ SSCS มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่า นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 


 


 


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง

ประเทศไทย.

ชมพูนุช โนนทวงษ์. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการ เรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัค

ติวิสต์และกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นริศรา สำราญวงษ์. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบ SSCS เพื่อพัฒนาความสามรถในการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง

บทประยุกต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและ

การสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มณีรัตน์ พันธุตา. (2557). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธนม

ศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา POLYA.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รจนา ต่อน้อง. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยามีต่อความสามรถในการแก้ปัญหาของ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัย ราชภัฎวไลยอลงกรณ์.

วรางคณา สำอาง. (2560). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการ

จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สมนึก ภัททิยธนี. (2555). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กาฬสินธ์ : ประสานการพิมพ์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O–NET)

รายวิชาคณิตศาสตร์. [ออนไลน์], ได้จากhttp://www.onetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Notice/FrBasic Stat.asx [สืบค้นเมื่อวันที่ 23คุลาคม 2562].

Chiappetta, E. L., Russell, J. M. (1982). The Relationship among Logical Thinking, Problem Solving Instruction, and

Knowledge and Application on Earth Science Subject Matter. Science Education. 66(1): 85-93.

Amuel Karlin (1957).The Annals of Mathematical Statistics 28 (2) Institute of Mathematical Statistics, pp. 281-308