รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพโดยการมีส่วน ร่วมของปราชญ์ชาวบ้าน โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

นฤมล วิทยาวุฒิรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบท สภาพปัญหา ความต้องการ และแนวทางในการพัฒนาครูในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพโดยการมีส่วนร่วมของปราชญ์ชาวบ้าน โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพโดยการมีส่วนร่วมของปราชญ์ชาวบ้าน โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพโดยการมีส่วนร่วมของปราชญ์ชาวบ้าน โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาและ4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพโดยการมีส่วนร่วมของปราชญ์ชาวบ้าน โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ครูผู้สอน 20คน ซึ่งเป็นประชากรทั้งหมด ปราชญ์ชาวบ้านจำนวน 6คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่2โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม ปีการศึกษา2560จำนวน 85คน และได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 2) แบบ
บันทึกข้อมูล 3)แบบสังเคราะห์เอกสาร 4)ตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ 5)แบบสอบถาม การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยมีขั้นตอนในการวิจัยได้แก่ขั้นที่1การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่2การสร้างรูปแบบ ขั้นที่3การทดลองใช้รูปแบบ และขั้นที่ 4 การประเมินรูปแบบ


ผลการวิจัย พบว่า


1.การศึกษาบริบท สภาพปัญหาความต้องการและแนวทางในการพัฒนาครูในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพโดยการมีส่วนร่วมของปราชญ์ชาวบ้าน โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา พบว่า โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมามีปัญหาและความต้องการในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก


2. ผลการเพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพโดยการมีส่วนร่วมของปราชญ์ชาวบ้าน โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่1)การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น 2) ทักษะอาชีพ 3)การมีส่วนร่วม 4) ภูมิปัญญาและปราชญ์ชาวบ้าน และ 5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยผู้มีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นคือครูและปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งได้หลักสูตรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ โดยการมีส่วนร่วมของปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 6 หลักสูตรคือ 1) ข้าวอินทรีย์นาโยน 2) ผลิตผลพุทรา 3) งามล้ำค่าไหมคลองเมือง 4) ลือเลื่องกะหรี่ปั๊บ 5) งานประดับจีบผ้า และ 6) งามตาเสื่อไหล


3.ผลการใช้ทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพโดยการมีส่วนร่วมของปราชญ์ชาวบ้าน โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา พบว่า นักเรียนร้อยละ 84.7 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับดีขึ้นไป


4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ โดยการมีส่วนร่วมของปราชญ์ชาวบ้านอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินความเป็นประโยชน์ของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article