รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน จากการจัดกิจกรรมเกมกระดาน โรงเรียนช่องแมววิทยาคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประเมิน เรื่องการประเมินโครงการส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน จากการจัดกิจกรรมเกมกระดาน โรงเรียนช่องแมววิทยาคม มีวัตถุประสงค์1) เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนจากการจัดกิจกรรมเกมกระดานโรงเรียนช่องแมววิทยาคม ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการด้านผลผลิตและด้านผลกระทบ และ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ผู้ประเมินได้ใช้วิธีการประเมินของ Daniel L. Stufflebeam รูปแบบการประเมินแบบ CIPPI Model เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูจำนวน 12 คน นักเรียน จำนวน 24 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ(Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า 1) โครงการส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน จากการจัดกิจกรรมเกมกระดาน
โรงเรียนช่องแมววิทยาคมผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยรวมพบว่า ครู นักเรียน และผู้ปกครองเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการประเมินโครงการ ด้านบริบทโดยรวมและเป็นรายข้อ พบว่า โครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3)ผลการประเมินโครงการด้านปัจจัยนำเข้าโดยรวม และเป็นรายข้อ พบว่า โครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผลการประเมินโครงการด้านกระบวนการโดยรวมและเป็นรายข้อ พบว่า โครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 5)ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิตโดยรวม และเป็นรายข้อ พบว่า โครงการมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด 6) ผลการประเมินโครงการด้านผลกระทบโดยรวมและเป็นรายข้อ พบว่า โครงการฯมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการศึกษาปัญหาและแนวทางปรับปรุงโครงการฯ พบว่า มีปัญหาและข้อเสนอแนะในด้านต่างๆ มีดังนี้ 1)ด้านบริบท พบว่ากิจกรรมการส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ขาดความหลากหลายจึงควรสำรวจความต้องการของผู้เรียน2)ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า นักเรียนมีความรู้ความสามารถและพื้นฐานแตกต่างกัน แหล่งสืบค้นข้อมูลสื่อ อุปกรณ์วิดีโอ สถานที่ไม่มีความพร้อมและไม่เพียงพอ จึงควรทดสอบพื้นฐานความสามารถแล้วจัดกลุ่มและจัดให้มีการฝึกปฏิบัตินอกเวลาโดยมีครูกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดสำหรับกลุ่มที่ไม่มีพื้นฐานให้จัดสื่ออุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก
ให้สอดคล้องกับความต้องการในศึกษาค้นคว้าของผู้เรียน3)ด้านกระบวนการ พบว่าแนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมเกมกระดานมีเวลาไม่เพียงพอ ครูที่ปรึกษาและการฝึกปฏิบัติไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมแต่ละกิจกรรมจึงควรชี้แจงกับนักเรียนให้เข้าใจและเตรียมความพร้อมสำหรับปฏิบัติกิจกรรมส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์แต่ละกิจกรรม4) ด้านผลผลิต พบว่า นักเรียนบางกลุ่มยังขาดระเบียบ วินัยและปฏิบัติตัวไม่เหมาะสม จึงควรชี้แจงเพื่อให้นักเรียนกลุ่มนี้ได้ตระหนักถึงจุดมุ่งหมาย และร่วมกันปฏิบัติกิจกรรม และ 5)ด้านผลกระทบ พบว่า งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรไม่เพียงพอกับการจัดกิจกรรม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรสนับสนุนงบประมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การดำเนินการคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้นผลส่วนผลกระทบเชิงบวกโรงเรียนมีการทดสอบผลการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) มีการพัฒนามากขึ้น และนักเรียนได้รับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นต่อไป