การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์)

Main Article Content

ภิรมย์ศรี สมทบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2)สร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 3) ศึกษาผลการทดลองใช้และเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาผลวิจัยในครั้งนี้ได้แก่นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) จำนวน 35 คน ใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างอันได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ t-test


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


1. สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลโดยตรงต่อการเรียนรู้และการดำเนินชีวิต นโยบายในการจัดการศึกษาจึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ผลการทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 100 คน พบว่านักเรียนร้อยละ 61 มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับต่ำ ปัญหาที่สำคัญที่ทำให้นักเรียนขาดความสามารถในการคิดวิเคราะห์นั้นมาจากการจัดการเรียนการสอนของครูที่ไม่เอื้อต่อการฝึกคิด โดยครูมีสภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}= 2.82 S.D.= 0.89 ) และครูมีความต้องการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.57 S.D.=0.67) ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน คือการแก้ไขที่กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู


2. ผลการสร้างและพัฒนาคุณภาพรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) จัดสร้างจากแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน ได้แก่ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของเพียเจต์ (Piaget) ทฤษฎี การเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ โดยใช้กฎการเรียนรู้ ทั้ง 4 ข้อ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยการสร้างสร้างสรรค์ชิ้นงาน                     ( Constructionism) จากแนวคิดของ Seymour Papert และทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of cooperative or collaborative learning) จากแนวคิดของ(Johnson & Johnson) โดยมีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5) การวัดผลประเมินผล และมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ตระเตรียม ขั้นตอนที่ 2 ต่อเติม ขั้นตอนที่ 3 ตรึกตรอง 3.1 ขั้นครูพาคิด 3.2 ขั้นคิดเอง ขั้นตอน
ที่ 4 ตรวจตรา และขั้นตอนที่ 5 ติดตามรูปแบบการสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ82.54 / 83.62 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80


3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน (gif.latex?\bar{x} =17.94 S.D.=3.61 ) และหลังเรียน (gif.latex?\bar{x} =32.86 S.D. =4.82 )


4. การประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.48 S.D.=0.50 ) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการสอนจากผู้ทรงคุณวุฒิพบว่ารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} =4.60 S.D.=0.55 )

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article