การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสือคำ คล้องจองประกอบภาพ เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟัง การพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลตำ บลงิม (คือเวียงจ่ำ )
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อหาประสิทธิภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ ตามเกณฑ์80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาด้านการฟัง การพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาลตำ บลงิม (คือเวียงจ่ำ ) จำ นวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม(Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ จำ นวน 10เล่ม 2)แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสือคำคล้องจอง ประกอบภาพ จำ นวน 30 แผน 3) แบบสังเกตพฤติกรรมพัฒนาการทางภาษาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 4) แบบทดสอบวัดทักษะทางภาษาด้านการฟัง การพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่3 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟัง การพูด จำ นวน 10 รายการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อย และค่า t-test แบบ Dependent Samples
ผลการศึกษาพบว่า
1.การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ มีประสิทธิภาพ (E1 /E2) เท่ากับ 90.25 / 94.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80 / 80
2. ทักษะทางภาษาด้านการฟัง การพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ มีคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ มีค่าเฉลี่ย 2.75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44 อยู่ในระดับมาก