การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

นงคราญ แมร์โรว์

บทคัดย่อ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนที่มีการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน อบจ.บ้านตลาดเหนือ(วันครู 2502) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 26 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ หนังสือส่งเสริมการ
อ่านภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) จำนวน 5 เรื่อง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบความสามารถการอ่านจับใจความ และแบบสอบถาม ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t – test dependent)


ผลการวิจัย


1. ประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า มีประสิทธิภาพ (E1/E2) 85.38/90.86 สูงกว่าเกณฑ์กำหนด (80/80) 


2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่าคะแนนหลังเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ ทั้ง 5 เรื่องสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


3. ความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในภาพรวมมีความสามารถอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 3.86)


4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ใน ภาพรวม มีความพึงพอใจมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.64) 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ. (2551). กรอบแนวคิดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

______. (2552 ก). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์.

______. (2554). รายงานวิจัย เรื่อง การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มุ่งเน้นทักษะการสื่อสาร ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : การศาสนา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

เกษราภรณ์ วังใจฟู. (2556). รายงานการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษ สําาหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [ออนไล]์. เข้าถึงได้จาก : http://board.atcomink.com/show.php? Category=8340&No=324 เมื่อ 10 มกราคม 2557.

คุรุรักษ์ ภิรมย์รักษ์. (2552). “ทําอย่างไรให้ลูกและศิษย์รักเป็นนักอ่าน” วารสารวิชาการ 1(6) : 8. 65-68.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และ บาหยัน อิ่มสําาราญ. (2552). การใช้ภาษาไทย. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร

ทวีศักดิ์ หงสาภินันทน์ และ กัญญาทิพ เสนาะวงศ์. (2554). หมวดวิชาภาษาไทยตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ : ลองไลฟ์เอ็ด.

นิรมล ศิริชัย. (2555). รายงานการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษ ชุด รอบตัวเราชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. [ออนไลน]. เข้าถึงจาก : http://www.kru- thai.com/forums/ index.php?topic=281.0เมื่อ 10 มกราคม 2557.

บุญชม ศรีสะอาด. (2549). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

______. (2550). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์. พรศรี ยอดสุดา. (2554). รายงานการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษ ชุด Amazing Langsuan สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเมืองหลังสวน อําเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก : http://www.kru-thai.com/forums/index.php? topic=1417.0 เมือ่ 10 มกราคม 2557.

พรหมลิขิต เสนาโนฤทธิ์. (2551). รายงานการพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษ สําาหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองจานบุลาน. [ออนไลน]. เข้าถึงจาก : http://www. kroobannok.com/board_view.php?b_id=27932& bcat_id=16 เมื่อ 10 มกราคม 2557.