การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอลกลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

บัวเรียน คำนกขุ้ม

บทคัดย่อ

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอลกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอลกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอลกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอลกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 4) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอลกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอลกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนเกษตรสมบูรณ์วิทยาคม ปีการศึกษา 2558 จำนวน 41 คนได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอล จำนวน 4 เรื่องและแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผนการเรียนเวลาเรียน 16 ชั่วโมง 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 25 ข้อ แบบประเมินทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอล จำนวน 16 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย t-test แบบ Dependent Samples


ผลการศึกษาโดยสรุปมีดังนี้


1. ผลของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอลกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 82.06/87.70 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80


2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอลกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
3. ทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนสุขศึกษา และพลศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05


4. ดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าเท่ากับ 0.8634 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 86.34


5. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอลกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article