การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ปารย์รวี เรืองช่วย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่ง เสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล วัดอุปนันทาราม อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดอุปนันทาราม อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด
วิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดอุปนันทาราม อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดอุปนันทาราม อำเภอ เมืองระนอง จังหวัดระนอง สังกัดเทศบาลเมืองระนอง นักเรียนจำนวน 70 คน และกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 ที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 37 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนในครั้งนี้ใช้เกณฑ์ E1/E2 ่(80/80) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การทดสอบที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน เพื่อศึกษาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนกับคะแนน หลังเรียน และใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละกับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ความพึงพอใจ


ผลการวิจัยพบว่า


1. รูปแบบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดอุปนันทาราม อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง มีประสิทธิภาพ 83.24/84.95 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้


2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนที่พัฒนา ขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05


3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนนี้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article