การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบ CIPP Model โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ (2) ประเมินด้านปัจจัยการดำเนินงานของโครงการ (3) ประเมินด้านกระบวนการของโครงการ(4) ประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ซึ่งประกอบได้ด้วย 4.1) การประเมินการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู 4.2)การประเมินความสามารถในการอ่าน การคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียน 4.3)การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกระดับชั้น 4.4) การประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการนิเทศภายใน(4.5) การประเมินความยั่งยืนในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 5 คน ครูจำนวน 89 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 14 คน รวมกลุ่มตัวอย่างจำนวน 108คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการได้แก่แบบสอบถามด้านสภาพแวดล้อม แบบสอบถามด้านปัจจัยการดำเนินงาน แบบสอบถามด้านกระบวนการ แบบสอบถามด้านผลผลิต เป็นแบบสอบถามตามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามแนวคิดของลิเคิร์ท (Likert Method) การวิเคราะห์ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ โดยผู้บริหารสถานศึกษา ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด/ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีค่าเฉลี่ยรวม ( =4.60, S.D. =0.54)
2.การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยผู้บริหารสถานศึกษาครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสม เพียงพออยู่ในระดับมาก/ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีค่าเฉลี่ยรวม( =4.49, S.D. = 0.56)
3.การประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการ โดยผู้บริหารสถานศึกษาครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมของขั้นตอนการดำเนินงานสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด/ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีค่าเฉลี่ยรวม ( =4.62, S.D. = 0.54) เมื่อพิจารณาตามขั้นตอนกระบวนการนิเทศภายใน 5 ขั้นตอน พบว่า การประเมินผลการนิเทศมีกิจกรรมได้แก่ กิจกรรมประเมินผลการนิเทศ มีความเหมาะสมของขั้นตอนการดำเนินงานมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวม ( = 4.64,S.D.= 0.51)รองลงมาคือการสร้างขวัญและกำลังใจ มีกิจกรรมได้แก่กิจกรรมการสร้างขวัญและกำลังใจ มีค่าเฉลี่ยรวม ( =4.62, S.D.= 0.51) และการวางแผนการนิเทศ มีกิจกรรมได้แก่กิจกรรมอภิปรายกลุ่ม กิจกรรมประชุมระดมสมอง มีค่าเฉลี่ยรวม ( =4.62,S.D.= 0.56)ส่วนการสร้างความเข้าใจและเตรียมการนิเทศ มีกิจกรรมได้แก่กิจกรรมประชุมครูกิจกรรมอบรมครูมีค่าเฉลี่ยรวม ( = 4.61,S.D.= 0.55)และการปฏิบัติการนิเทศมีกิจกรรมได้แก่กิจกรรมให้คำปรึกษากิจกรรมศึกษาเอกสารกิจกรรมสาธิตการสอน กิจกรรมเยี่ยมชั้นเรียนเพื่อสังเกตการสอน กิจกรรมศึกษาดูงาน กิจกรรมจัดนิทรรศการ มีค่าเฉลี่ยรวม ( = 4.61,S.D.= 0.55) มีคะแนนเท่ากัน
4. การประเมินผลผลิตของโครงการ ในภาพรวมผ่านเกณฑ์ทุกการประเมิน ดังนี้ 4.1 การประเมินการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโดยผู้บริหารสถานศึกษาครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมพบว่า มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูอยู่ ในระดับมากที่สุด/ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีค่าเฉลี่ยรวม ( =4.67, S.D.=0.52) 4.2 การประเมินความสามารถในการอ่าน การคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1-3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โดยครูพบว่ามีการปฏิบัติการอ่าน การคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด/ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีค่าเฉลี่ยรวม ( = 4.74, S.D.=0.47) 4.3 การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกระดับชั้น 4.3.1 ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์แยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2559 โรงเรียนบัวใหญ่ โดยครูพบว่ามีระดับผลการเรียนเฉลี่ยรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน ( = 3.08, S.D.= 0.76) 4.3.2 ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์แยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบัวใหญ่ โดยครูพบว่ามีระดับผลการเรียนเฉลี่ยรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน ( = 3.07, S.D.=0.78) 4.4 การประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการนิเทศภายในของโรงเรียนบัวใหญ่ ปีการศึกษา 2559 โดยครูพบว่ามีครูมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด/ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีค่าเฉลี่ยรวม ( = 4.80, S.D.=0.44) 4.5 การประเมินความยั่งยืนในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูเมื่อผ่านระยะเวลาไปได้1 ภาคเรียน โดยผู้บริหารสถานศึกษา ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมพบว่า มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูเมื่อผ่านระยะเวลาไปได้1 ภาคเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด/ผ่านเกณฑ์ การประเมิน มีค่าเฉลี่ยรวม ( =4.70, S.D.= .49) เมื่อพิจารณาภาพรวมของคะแนนเพิ่ม/ลดการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของครูเมื่อผ่านระยะเวลาไปได้1 ภาคเรียน พบว่า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (เพิ่ม 0.03)แสดงให้เห็นว่าในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูยังคงมีความยั่งยืนแม้เวลาผ่านไป