การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย) จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
กการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน ขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยประกอบด้วยดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นการวิเคราะห์ ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) การศึกษา แหล่งข้อมูลได้แก่ ผลการจัดการศึกษาตามนโยบาย จุดหมายการจัดการศึกษาโดยภาพรวมและของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รูปแบบการเรียนการสอนด้านองค์ประกอบและรายละเอียดต่าง ๆ ของรูปแบบการเรียนการสอน เครื่องมือได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารจำนวนหนึ่งฉบับแบ่งเป็น 2 ตอนคือการวิเคราะห์สภาพที่คาดหวังและการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของผลการจัดการศึกษาตามนโยบาย จุดหมายของการจัดการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา(Development:D1) การออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D and D) : การพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอน เครื่องมือได้แก่ ร่างรูปแบบการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมิน ความสามารถในการเรียนรู้ และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence)แล้วเลือกค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.84 หาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอน (E1/ E2) ด้วยการทดลองกลุ่มใหญ่ (Field Tryout) โดยใช้เกณฑ์ 80 / 80 ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน เครื่องมือที่ใช้ มี 2 ประเภท คือ เครื่องมือจัดกระทำและ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน เครื่องมือได้แก่ คะแนนผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนผลการทดสอบทดสอบการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ คะแนนผลการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีทางสถิติจากการวิจัยสามารถสรุปผล ได้ดังนี้ 1. สภาพที่คาดหวัง มุ่งปฏิรูปการเรียนรู้ โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ยึดหลัก การเรียนรู้ด้วยตนเองและหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต เน้นพลังความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนิสัยรักการอ่านเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลสภาพปัจจุบัน คือ นักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่ผ่านผลการประเมิน ด้านการคิด การจัดการเรียนการสอนด้านการคิดและวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษายังไม่บรรลุเป้าหมายการจัดการเรียนการสอนยังยึดครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher Center)มุ่งสอนแต่เนื้อหาวิชาเป็นหลัก ใช้เทคนิควิธีสอนที่ไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด ขาดการค้นคว้าหาข้อมูล ไม่มีการฝึกแก้ปัญหา ไม่ได้ฝึกการกำกับ การเรียนรู้ของตน ไม่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงครูส่วนใหญ่ใช้การบรรยาย เน้นความรู้ความจำไม่เน้นการทดลอง ไม่ฝึกการคิดที่มีเหตุผล การที่ผู้เรียนไม่ได้ฝึกทักษะในการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล เป็นเหตุให้ผู้เรียนขาดทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล 2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “TPES Model” โดยมี องค์ประกอบดังนี้ หลักการวัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และทักษะ ความสามารถ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคมหลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 4 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นการคิด(Think:T) 2)ขั้นการมีส่วนร่วม(Participation: P)3) ขั้นการศึกษาเรียนรู้(Educational: E)4.ขั้นการแบ่งปัน(Share: S)ตรวจสอบความสอดคล้อง ของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนมีความ สอดคล้องกัน (IOC = 0.84) และเมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ (E1/E2)แบบกลุ่มใหญ่ (Filed Tryout)กับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาล 5(บ้านศรีบุญเรือง) จำนวน 38ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน เท่ากับ 84.91/81.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3 เมื่อ เปรียบเทียบเป็นรายด้าน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
จากการวิจัยสามารถสรุปผล ได้ดังนี้
1. สภาพที่คาดหวัง มุ่งปฏิรูปการเรียนรู้ โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ยึดหลัก การเรียนรู้ด้วยตนเองและหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต เน้นพลังความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนิสัยรักการอ่านเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลสภาพปัจจุบัน คือ นักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่ผ่านผลการประเมิน ด้านการคิด การจัดการเรียนการสอนด้านการคิดและวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษายังไม่บรรลุเป้าหมายการจัดการเรียนการสอนยังยึดครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher Center) มุ่งสอนแต่เนื้อหาวิชาเป็นหลัก ใช้เทคนิควิธีสอนที่ไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด ขาดการค้นคว้าหาข้อมูล ไม่มีการฝึกแก้ปัญหา ไม่ได้ฝึกการกำกับ การเรียนรู้ของตน ไม่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงครูส่วนใหญ่ใช้การบรรยาย เน้นความรู้ความจำ ไม่เน้นการทดลอง ไม่ฝึกการคิดที่มีเหตุผล การที่ผู้เรียนไม่ได้ฝึกทักษะในการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล เป็นเหตุให้ผู้เรียนขาดทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “TPES Model” โดยมี องค์ประกอบดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และทักษะ ความสามารถ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 4 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นการคิด(Think:T) 2)ขั้นการมีส่วนร่วม(Participation : P) 3) ขั้นการศึกษาเรียนรู้(Educational: E) 4.ขั้นการแบ่งปัน (Share: S)ตรวจสอบความสอดคล้อง ของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนมีความ สอดคล้องกัน (IOC = 0.84) และเมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ (E1/E2) แบบกลุ่มใหญ่ (Filed Tryout) กับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาล 5(บ้านศรีบุญเรือง) จำนวน 38ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน เท่ากับ 84.91/81.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3 เมื่อ เปรียบเทียบเป็นรายด้านผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียน การสอนเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียนการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสeคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนหลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ที่มีต่อการเรียนดัวยรูปแบบการเรียน การสอนเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ภาพรวมพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนดัวยรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระ ชัยปูรณโชติ. (2537). ทิศทางและนโยบายในการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับประเทศไทย ในช่วงศตวรรษที่ 21.กรุงเทพมหานคร : ชมรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย.
ทิศนา แขมมณี และคณะ.(2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิณสุดา สิริธรังศรีและคณะ. (2557).การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน: แนวคิดสู่การปฏิบัติ DPU กรุงเทพฯ: Coolprint มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์.(2554). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : แนวคิด วิธีและเทคนิคการสอน1. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้น.