การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) โดยใช้ชุดกิจกรรมประกอบสื่อประสม เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า

Main Article Content

วรรณภรณ์ มะลิรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเชิงรุก(ActiveLearning)เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการ การคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning)โดยใช้ชุดกิจกรรมประกอบสื่อประสม เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่3 และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเชิงรุก (ActiveLearning) โดยใช้ชุดกิจกรรมประกอบสื่อประสม เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่3/3 โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า สังกัดเทศบาลเมืองพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 29คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster RandomSampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) ชุดกิจกรรมประกอบสื่อประสม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด2) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงรุก มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย ( P) ตั้งแต่ 0.44-0.76 ค่าอำนาจจำแนก (r)ตั้งแต่ 0.24-0.56และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย    ( gif.latex?\bar{x} ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบที (t-test for dependent samples)


ผลการวิจัยพบว่า


1) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.92/82.18 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้


2) นักเรียน ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมประกอบสื่อประสม มีค่าเฉลี่ยการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมประกอบสื่อประสม โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กฤษณา ดามาพงศ์. (2555). ผลการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านกุดน้ำใส จังหวัดชัยภูมิ.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2526). การบริหารสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : วัฒนาพานิช.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า. (2559). รายงานการวัดผลประเมินผลการศึกษาประจำปีการศึกษา ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า.

สมยศ นาวีการ. (2547). การบริหาร:การพัฒนาองค์การและการจูงใจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ 1991 จำกัด.

เสาวณีย์ อุ่นประเสริฐสุข. (2546). การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสอนแบบเดินเรื่อง. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร .

สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ..

อารมณ์ สุวรรณปาล. (2551). การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 7-10. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช.

Heathers, Glen. (1964). A Working Definition of Individualized Instruction.