การพัฒนาแบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาบทประยุกต์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ภัทรภร ศุขหงษ์ทอง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาบทประยุกต์ชั้นประถมศึกษาปีที่6ตามเกณฑ์80/802) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาบทประยุกต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD และ3)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลเขาชัยสน จำนวน 31คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่1)แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาบทประยุกต์จำนวน 8ชุด2)แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD จำนวน 16 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย(p) มีค่าตั้งแต่0.35-0.79ค่าอำนาจจำแนก(r) มีค่าตั้งแต่0.17-0.92และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (LovettMethod) เท่ากับ0.92อยู่ในระดับสูง และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับ (Rating Scale)จำนวน 20รายการ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เฉลี่ยตั้งแต่ 0.40 – 1.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา  (α-Coefficient) เท่ากับ 0.81อยู่ในระดับสูงสถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ค่าเฉลี่ย(X )ค่าร้อยละค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)และการทดสอบที(t-test แบบ dependent)


ผลการศึกษาพบว่า


1. แบบฝึกทักษะทักษะการแก้โจทย์ปัญหาบทประยุกต์ กลุ ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.14/84.09ตามเกณฑ์80/80


2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD อยู่ในระดับ มาก (gif.latex?\bar{x} = 4.40, S.D. = 0.73)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำากัด.

ณรงค์ เมตตามิตร. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและ การสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2546). ศาสตร์การสอนเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

______. (2552). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บัวบาน เชื้อหาญ. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโนนศรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยนต์ ชุ่มจิต. (2550). การศึกษาและความเป็นครูไทย. กรุงเทพ ฯ : โอเดียนสโตร์.

โรงเรียนเทศบาลเขาชัยสน. (2558). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลเขาชัยสน พุทธศักราช 2556 ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พัทลุง : โรงเรียนเทศบาลเขาชัยสน.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). คู่มือการวัดผลและประเมินคณิตศาสตร์. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน ระดับชาติ ปีการศึกษา 2555 บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย.กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

โสภิตา โตโสภณ. (2556). การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการศึกษาและการสอน. (ประถมศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อัมพวัน ลายพยัคฆ์. (2557). ผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.