ผลของการพัฒนาแบบฝึกปฏิบัติโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน ผสานเทคนิคระดมสมองต่อทักษะปฏิบัติงานผลงานความคิดสร้างสรรค์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา คอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการสร้างแบบฝึกปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันเสริมผสานเทคนิคระดมสมอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนาแบบฝึกปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันผสานเทคนิคระดมสมอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้แบบฝึกปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันผสานเทคนิคระดมสมอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วยเพื่อ 3.1) ศึกษาทักษะปฏิบัติงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยแบบฝึกปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันผสานเทคนิคระดมสมอง 3.2) ศึกษาผลงานความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยแบบฝึกปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันผสานเทคนิคระดมสมอง 3.3) ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา คอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยแบบฝึกปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันผสานเทคนิคระดมสมอง ก่อนและหลังเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันผสานเทคนิคระดมสมอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
จำนวน 32 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แบบสอบถาม/แบบสัมภาษณ์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของนักเรียนและครู 2) แบบฝึกปฏิบัติ 3) แบบประเมินคุณภาพแบบฝึกปฏิบัติ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ 9 แผน 5) แบบประเมินทักษะปฏิบัติงาน 6) แบบประเมินผลงานความคิดสร้างสรรค์ 7) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .82 และ 8) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .74 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย , S.D. ร้อยละ ค่า t-test แบบ Dependent samples และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานการสร้างแบบฝึกปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันผสานเทคนิคระดมสมอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกรณีนักเรียน พบว่า นักเรียนต้องการให้ครูผู้สอนจัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้นักเรียนสามารถใช้งานโปรแกรมสร้างสรรค์ผลงานได้ด้วยตนเอง แบบฝึกปฏิบัติที่สร้างมาให้ใช้ต้องมีภาพประกอบขั้นตอนการใช้งานโปรแกรม และสามารถทตามำขั้นตอนได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ฝึกปฏิบัติโดยมีครูคอยแนะนำเมื่อไม่เข้าใจขั้นตอนหรือวิธีการปฏิบัติ ฝึกปฏิบัติได้ในเวลาเรียนและสามารถนำไปฝึกปฏิบัติทบทวนด้วยตนเองได้นอกเวลาเรียน และในกรณีครูผู้สอน : ครูผู้สอนมีแนวคิดว่าการจัดกิจกรรมควรเน้นการปฏิบัติจริง มีการสาธิตแล้วให้นักเรียนทำตาม ให้นักเรียนปฏิบัติด้วยตนเอง โดยมีครูคอยดูแลช่วยเหลือเมื่อนักเรียนต้องการ มีการระดมความคิดและออกมาสาธิตขั้นตอนการทำของเพื่อนในชั้นเรียนที่สร้างชิ้นงานได้สวย น่าสนใจ เพื่อนำมาใช้เป็นตัวอย่างในการสร้างชิ้นงานแบบสร้างสรรค์ด้วยตนเองการวัดและประเมินผลที่ทั้งครูและนักเรียนมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน กล่าวคือ ให้ทดสอบเป็นรายบุคคล มีทั้งการทดสอบทักษะปฏิบัติ ผลงานความคิดสร้างสรรค์ และทดสอบแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก ซึ่งเป็นการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง และให้มีเครื่องมือวัดและเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน
2. แบบฝึกปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันผสานเทคนิคระดมสมอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.96/80.89 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. การทดลองใช้แบบฝึกปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันผสานเทคนิคระดมสมอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า
3.1 ทักษะปฏิบัติงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยแบบฝึกปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันผสานเทคนิคระดมสมองมีคะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.20
3.2 ผลงานความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยแบบฝึกปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันเสริมผสานเทคนิคระดมสมองมีคะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.83
3.3 ผลการศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันผสานเทคนิคระดมสมอง โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน (x) เท่ากับ 18.00 คิดเป็นร้อยละ 60.00 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน (x) เท่ากับ 25.94 คิดเป็นร้อยละ 86.46 ซึ่งหลังเรียนไม่น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคอมพิวเตอร์ สาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันผสานเทคนิคระดมสมอง อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กฤตมุข ไชยศิริ. (2559).“การพัฒนาชุดการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน เรื่อง การร้อยลูกปัด วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขา).” การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กิติพงษ์ แหน่งสกูล. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติงาน เรื่อง การใช้งานโปรแกรมประมวลผลคำกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีสอนแบบชี้แนะร่วมกับรูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน.สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
จิราพร กำจัดทุกข์. (2552). ความพึงพอใจหลังการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร
มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ถวัลย์ มาศจรัส. (2550). นวัตกรรมการศึกษาชุดแบบฝึกหัด แบบฝึกทักษะ เพื่อพัฒนาผู้เรียนและการจัดทำผลงานทางวิชาการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.กรุงเทพฯ : ธารอักษร.
ทิศนา แขมมณี. (2553).ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ปัณณธร ละโป. (2558) รายงานการใช้แบบฝึกทักษะ รายวิชา ง21201 เทคโนโลยีสารสนเทศ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนน้ำเกลี้ยงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จังหวัดศรีสะเกษ
วราภรณ์ กิจเครือ. (2556).การใช้งานโปรแกรมนำเสนอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดพระศรีอารย์. การค้นคว้าอิสระระดับปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2549). เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาพัฒนาการเรียนการสอน 0506703. มหาสารคาม : ม.ป.พ.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2540). ระบบการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
สำลี รักสุทธี. (2553). คู่มือการจัดทำสื่อนวัตกรรมและแผนการสอนประกอบสื่อนวัตกรรม. นนทบุรี :เพิ่มทรัพย์ การพิมพ์.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2550). เรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : ที .พี .พรินท์
อรุณี รัตนชาญชัย. (2557). ผลการใช้บทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการระดมสมอง รายวิชาการสร้างเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อารีย์ วาศน์อำนวย. (2545). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Osborn, A. F. (1957). Applied Imagination. New York : Scribner.