ผลการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาวิชาสนุกกับอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อการคิดเชิงนวัตกรรม และเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมัธยม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการคิดเชิงนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาในวิชาสนุกกับอิเล็กทรอนิกส์ และ 2) เปรียบเทียบเจตคติ ต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาใน วิชาสนุกกับอิเล็กทรอนิกส์
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมัธยม มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา จำนวน 36 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียนจากทั้งหมด 4 ห้องเรียน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาในวิชาสนุกกับอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 แผน รวม 18 ชั่วโมง 2) แบบประเมินการคิดเชิงนวัตกรรม และ 3) แบบวัดเจตคติต่อวิชา วิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ ค่าทีแบบไม่อิสระ
ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) นักเรียนมีการคิดเชิงนวัตกรรมหลังการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาสูงกว่า ก่อนการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) นักเรียนมีเจตคติต่อวิชา วิทยาศาสตร์ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาไม่แตกต่างกัน เนื่องจากการพัฒนาเจตคติเป็น เรื่องที่ต้องใช้เวลายาวนานแต่การทดลองครั้งนี้ใช้เวลาทดลองจำนวน 18 คาบ คาบละ 50 นาที ด้วยระยะ เวลาที่ไม่มากพอนี้เจตคติของนักเรียนจึงไม่เปลี่ยนแปลงระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กัญจนา ลินทรัตนศิริกุล. (2559). ประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยหลักสูตรและการเรียนการสอนหน่วยที่ 9 พิมพ์ครั้งที่ 6. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ไดเยอร์, เจฟฟ์, เกรเกอร์เซน, ฮาล และ คริสเตนเซน, เคลย์ตัน. (2558). นวัตกรพลิกโลก= The Innovator’s DNA. แปลจาก The Innovator’s DNA. แปลโดย นรา สุภัคโรจน์. นนทบุรี: ปราณ. (ต้นฉบับพิมพ์ ปี ค.ศ. 2011).
นพคุณ แดงบุญ. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เนาวนิตย์ สงคราม. (2557). การสร้างนวัตกรรรม : เปลี่ยนผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างนวัตกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, วุฒิชัย เนียมเทศ และณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.
เบิร์น, เกรเกอรี. (2552). ต้นแบบนักคิดนวัตกรรม. แปลจาก Iconoclast. แปลโดย ณัฐยา สินตระการผล. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท. (ต้นฉบับพิมพ์ ปี ค.ศ. 2008).
ปรเมศวร์ ขาวสุด, ดวงเดือน สุวรรณจินดา และสุจินต์ วิศวธีรานนท์. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ที่มีต่อมโนมติทางวิทยาศาสตร์ และความสุขในการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ จังหวัดตรัง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 20(1), 132-146 สืบค้น 1 กันยายน 2563, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/issue/view/16593.
พิชญานิน ลายเจียร. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ระหว่างการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับวิธีสอนแบบปกติ. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา.
วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2560). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ STEM Education (สะเต็มศึกษา). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วากเนอร์, โทนี. (2561). Creating Innovators: คู่มือสร้างนักนวัตกรรมเปลี่ยนโลก. แปลจาก Creating Innovators: The Making of young People Who Will Change the World. แปลโดย ดลพร รุจิรวงศ์. กรุงเทพฯ : บุ๊คสเคป.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2560, กันยายน 17). การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา ตอนที่ 5. [เว็บไซด์]. สืบค้นจาก http://oho.ipst.ac.th/edp-creative-problem-solving5.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)และสะเต็มศึกษา ประเทศไทย. (2557). สะเต็มศึกษาและการออกแบบเชิงวิศวกรรม. [เว็บไซด์]. สืบค้นจาก http://www.stemedthailand.org.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2555, พฤษภาคม - สิงหาคม). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 14(2), 118-128.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
อรชร ปราจันทร์ และสุกัญญา แช่มช้อย. (2561). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12(1), 156-168.
Ceylan, S. & Ozdilek, Z. (2015). Improving a Sample Lesson Plan for Secondary Science Courses within the STEM Education. Procedia – Social and Behavioral Sciences. 177, 223 – 228.
Orlandi, C. E.A. (2010). Experimental experience in design education as a resource for innovative thinking: The case of Bruno Munari. Procedia Social and Behavioral Sciences. 2, 5039–5044.
Pimthong, P. & Williams, J. (2018). Preservice teachers’ understanding of STEM education. Kasetsart Journal of Social Sciences. Article in press. 1-7.