การพัฒนาแอปพลิเคชันบทเรียน เรื่อง การบอกค่าตัวเลขและจำนวน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
แอปพลิเคชันบทเรียน, นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพของแอปพลิเคชันบทเรียน เรื่อง การบอกค่าตัวเลขและจำนวน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียน
และหลังเรียนด้วยแอปพลิเคชันบทเรียน เรื่อง การบอกค่าตัวเลขและจำนวน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 12 คน สังกัด ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) แอปพลิเคชันบทเรียน เรื่อง การบอกค่าตัวเลขและจำนวน โดยใช้ ADDIE Model สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การบอกค่าตัวเลขและจำนวน
2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบตรวจสอบคุณภาพแอปพลิเคชันบทเรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันบทเรียนตามเกณฑ์ E1/E2
ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 ของแอปพลิเคชันบทเรียน เท่ากับ 88.33/94.56 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ (E1/E2 เท่ากับ 80/80)
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแอปพลิเคชันบทเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.58 คะแนน และ 26.83 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.61 และ 1.75 ตามลำดับโดยผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กรรณิกา นาราษฎร์. (2564). กระบวนการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ภายในโรงเรียนของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 6(1), 15-24.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการนำจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนสู่การปฏิบัติ. สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กุลยา ก่อสุวรรณ. (2553). ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครวิโรฒ.
ดารณี ธนะภูมิ. (2542). การสอนเด็กปัญญาอ่อน. สมใจการพิมพ์.
ประกายรัตน์ สุวรรณ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS เวอร์ชั่น 20. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ปัญญานันท์ ศรีนุชศาสตร์. (2558). การใช้กิจกรรมด้านประสาทสัมผัสเพื่อพัฒนาความ สามารถในการอ่านจำนวนและรู้ค่าจำนวนของเด็กปฐมวัยที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ผดุง อารยะวิญญู. (2542). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. รำไทยเพลส.
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 หมวด 2 การส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ. (2551, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 28 ก. หน้า 5-9.
พงศ์ศิริ ธรรมวุฒิ ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี และกฤษณา คิดดี. (2558). การพัฒนาบทเรียนโมบายเลิร์นนิงวิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 198-205.
เมฆินทร์ เมธาวิกูล. (2562). ทศวรรษของพัฒนาการการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการในประเทศไทย 2550-2560. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 9(2), 181-188.
วรัษฐา เสรีวิวัฒนา. (2555). การพัฒนาแอพพลิเคชั่น วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องรูปสี่เหลี่ยมสําหรับไอโอเอส บนอุปกรณ์แท็บเล็ต ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2546). การศึกษาวิจัยในชั้นเรียน. สุวีริยาศาส์น.
อัจฉรา พิมพะสอน. (2550). การใช้ชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อัมพรรณ พูลลาภ และประกฤติ พูลพัฒน์. (2563). การพัฒนาความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาผ่านชุดกิจกรรมสนุกคิดคณิตศาสตร์. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 16(2), 189-203.
McGriff, D. E., Hudgins, J. E., & Brown, S. M. (2000). Evaluation of transgenic versus conventional varieties. In Dugger P., Richter D. (Ed.) 2000 Proceedings Beltwide Cotton Conferences (502-503). University of Georgia.
Rouse-Jones, M. D. (2012). History at the Personal Level: Tesserae in the Mosaic of Caribbean Social History. Caribbean Quarterly, 58(1), 65–86. https://doi.org/10.1080/00086495.2012.11672431

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม