Editor : Dr.Pattaraluk Chinpraphap
Submissions
Author Guidelines
การจัดส่งต้นฉบับ
จัดส่งผ่านระบบ Thai-Jo ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/edupsru/index
นโยบายการตีพิมพ์วารสารครุพิบูล
วารสารครุพิบูล เป็นวารสารที่เผยแพร่ผลงานวิจัย และบทความวิชาการ ในสาขาครุศาสตร์ เพื่อให้นักวิจัยและเจ้าของผลงานวิชาการสามารถเตรียมต้นฉบับได้ถูกต้องและได้มาตรฐานตามระเบียบของวารสาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จึงขอชี้แจงดังนี้
- บทความที่วารสารรับตีพิมพ์ต้องเป็นบทความในกลุ่มสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ โดยเน้น หลักสูตรและการสอน การบริหารการศึกษา เทคโนโลยีทางการศึกษา วิธีวิทยาทางการวิจัย การวัดและประเมินทางการศึกษา จิตวิทยาการศึกษา
- รับบทความวิจัย (Research Article) เป็นหลัก และรับบทความวิชาการ (Review Article)
กับบทความปริทรรศน์หนังสือ (Book Review) เป็นอันดับรอง - บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
- บทความทุกเรื่องได้รับการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review: Double Blind) จำนวน 3 ท่านต่อบทความ (บทความจากผู้นิพนธ์ภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสารจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายนอกและภายใน โดยไม่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่อยู่ภายใต้สังกัดเดียวกันกับผู้นิพนธ์ ส่วนบทความจากผู้นิพนธ์ภายใน จะได้รับการประเมินจากผู้นิพนธ์ภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร)
- ผู้เขียนต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และผู้เขียนต้องยินยอมให้บรรณาธิการ แก้ไขความสมบูรณ์ของบทความได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่
- บทความใดที่ผู้อ่านเห็นว่าได้มีการลอกเลียนหรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิง หรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของผู้เขียน กรุณาแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบ จะเป็นพระคุณยิ่ง
การจัดส่งต้นฉบับ
จัดส่งผ่านระบบ Thai-Jo ที่ www.tci-thaijo.org/index.php/edupsru/index/
การเตรียมต้นฉบับ
- บทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์ต้องพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ พิมพ์ต้นฉบับด้วย
กระดาษขาวขนาดเอ 4 หน้าเดียว เนื้อหาของบทความทั้งหมดจะต้องไม่เกิน 15 หน้า กำหนดระยะห่าง
จากขอบกระดาษตามมาตรฐานของ Microsoft Office Word (เว้นระยะขอบบน 3 เซนติเมตร เว้นระยะ
ขอบล่าง 2 เซนติเมตร เว้นระยะขอบซ้ายและขวาข้างละ 2.54 เซนติเมตร) - บทความทุกประเภทส่วนต้นต้องมีส่วนประกอบทั่วไปทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ดังนี้
- ชื่อเรื่อง
- ชื่อผู้เขียน (ครบทุกคน)
- สถานที่ทำงาน/หน่วยงานของผู้เขียนครบทุกคน
- วุฒิการศึกษาขั้นสูงสุด ตำแหน่งวิชาการ (ถ้ามี) และ Email เฉพาะผู้เขียนหลัก (Corresponding Author)
- บทความทุกประเภท ยกเว้นบทปริทรรศน์หนังสือ ต้องมีบทคัดย่อ (Abstract) ความยาว 1 ย่อหน้า ไม่เกิน 250 คำ และใต้บทคัดย่อใส่คำสำคัญ (Keywords) ไม่เกิน 5 คำ บทคัดย่อและคำสำคัญให้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (TH SarabunPSK 16)
- เนื้อหา สำหรับบทความวิจัยประกอบด้วยหลักสำคัญคือ บทนำที่กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาอาจรวมการทบทวนเอกสาร วัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย (ถ้ามี) สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย อภิปรายผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิงพิมพ์แบบ 1 คอลัมน์ หัวข้อใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 18 เนื้อหา ขนาด 16
ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ - เนื้อหา สำหรับบทความวิชาการ และบทความปริทรรศน์ประกอบด้วยหลักสำคัญคือ บทนำ หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา หัวข้อย่อยภายในเนื้อหา บทวิจารณ์และสรุป และเอกสารอ้างอิง พิมพ์แบบ 1 คอลัมน์ ตัวอักษร TH SarabunPSK 16 ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
- การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง ให้ใช้วิธีการอ้างอิงแบบนาม-ปี (Author-date in-text citation) โดยระบุ ชื่อและนามสกุลผู้แต่ง กรณีภาษาไทย และ นามสกุล กรณีภาษาอังกฤษ และปีพิมพ์ เช่น
(ประวิทย์ หลักบุญ, 2528) (Feshbach & Singer, 1971) หรือ ประวิทย์ หลักบุญ (2528)
Feshbach & Singer (1971) ซึ่งใส่ไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังข้อความที่ต้องการอ้างอิง เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น และอาจระบุเลขหน้าของเอกสารที่อ้างด้วยก็ได้หากต้องการ เช่น ประวิทย์ หลักบุญ (2528: 12) Feshbach & Singer (1971: 123) ในกรณีผู้แต่ง 3 คนขึ้นไปภาษาอังกฤษให้ใส่ , หลังนามสกุลผู้แต่งทุกคน และระหว่างคนรองสุดท้ายกับคนสุดท้ายให้ใส่ & เช่น (Kothler, Haider & Rein, 1993) ในกรณีผู้แต่ง 6 ขึ้นไป ภาษาไทยให้ใส่ ชื่อและนามสกุลผู้แต่งคนแรก และตามด้วยคำว่า “และคณะ” ภาษาอังกฤษให้ใส่เฉพาะนามสกุลผู้แต่งคนแรก และตามด้วย “et al.” เช่น (อนุ เจริญวงศ์ระยับ และคณะ, 2552) (Harris et al., 2001) - การเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายเล่ม (Reference Citation) โดยการรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนได้ใช้อ้างอิงในการเขียนผลงานนั้น ๆ จัดเรียงรายการตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ภายใต้หัวข้อ เอกสารอ้างอิง สำหรับบทความภาษาไทย หรือ References สำหรับบทความภาษาอังกฤษ โดยใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) ตัวอย่างการเขียนมีดังนี้
หนังสือ
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: ผู้จัดพิมพ์.
ตัวอย่าง
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2547). เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).
Porter, M. E. (1990). The competitive advantage of nations. New York: Free Press.
บทความ/เรื่อง/ตอน ในหนังสือรวมเรื่อง
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ในชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อเรื่อง (ฉบับพิมพ์ หน้าที่ปรากฏบทความ). สถานที่พิมพ์: ผู้จัดพิมพ์.
ตัวอย่าง
กอบกุล รายะนาคร. (2543). กฎหมายกับการจัดการทรัพยากรน้ำและชายฝั่งทะเล. ใน อานันท์ กาญจนพันธ์ (บรรณาธิการ), พลวัตชุมชนในการจัดการทรัพยากรกระบวนทัศน์และนโยบาย (หน้า 395). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
Resnick, L. (1991). Shared cognition: Thinking as social practice. In W. Resnick, J. Levine, & S. Teasley (Eds.), Perspectives on socially shared cognition (pp. 1-22). Washington, DC: American Psychological Association.
บทความในวารสาร
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ลำดับที่), เลขหน้าที่ปรากฏบทความในวารสาร.
ตัวอย่าง
อนุ เจริญวงศ์ระยับ, ชุลีกร ยิ้มสุด, และ ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ. (2549). ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของการใฝ่รู้ทางวิทยาศาสตร์ในนักเรียนช่วงชั้นที่ 4. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 19(1), 13-39.
Heinz, W. R., Kelle, U., Witzel, A., & Zinn, J. (1998). Vocational training and career development in Germany: Results from a longitudinal study. International Journal of Behavioral Development, 1, 77-101.
การอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. วันที่สืบค้น, จาก แหล่งข้อมูลที่สืบค้น
ตัวอย่าง
Eid, M., & Langeheine, R. (1999). The measurement of consistency and occasion specificity with latent class models: A new model and its application to the measurement of affect. Psychological Methods, 4, 100-116. Retrieved November 19, 2000, from the PsycARTICLES database.
การอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. วิทยานิพนธ์ ตัวย่อหลักสูตร. (สาขาวิชา) สังกัด.
ตัวอย่าง
ปาริชาติ จันทร์เที่ยง. (2556). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนแท็บเล็ต เรื่องจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ผู้เขียนสามารถดาวน์โหลดไฟล์ template ได้ที่ Template File.
การส่งบทความผ่านระบบ thaijo.org
3. การส่งบทความในระบบ tci-thaijo.org
Journal Information
Form Download
ไฟล์เทมเพลต (เทมเพลต)
อ้างอิงบทความวารสารครุพิบูล