ความต้องการเพื่อการพัฒนาตนเองของบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

ผู้แต่ง

  • นลินี สุตเศวต มหาวิทยาลัยสยาม
  • สุภัทรา เอื้อวงศ์ มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

การพัฒนาตนเอง, ความรู้, กิจกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาความต้องการด้านสาระความรู้เพื่อการพัฒนาตนเองของบุคลากรทางการศึกษากลุ่มโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และ 2.ศึกษากิจกรรมที่ต้องการเพื่อการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษากลุ่มโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ กลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 67 โรงเรียน มีผู้บริหารและครู รวม 5,002 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2562) กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ ได้ข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลกลับมาจำนวน 297 คน คิดเป็นร้อยละ 80 ของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า PNI โดยใช้สูตรคำนวณด้วยเทคนิค Modified Priority Need Index (PNI modified)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ความต้องการด้านสาระความรู้เพื่อการพัฒนาตนเองของบุคลากรทางการศึกษา ด้านสาระความรู้ โดยสภาพที่ควรจะเป็นอยู่ในระดับมากที่สุด และสภาพจริงที่เป็นอยู่อยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับความต้องการเพื่อการพัฒนาตนเองของบุคลากรทางการศึกษา 3 ลำดับแรก พบว่า ลำดับที่ 1 คือ ความรู้ด้านการพัฒนางาน ลำดับที่ 2 คือ ความรู้ด้านเทคนิคการสอนและความรู้ด้านการบริหารการศึกษา และลำดับที่ 3 คือ ความรู้ด้านเทคโนโลยี

2. กิจกรรมที่ต้องการเพื่อการพัฒนาตนเอง โดยสภาพที่ควรจะเป็นอยู่ในระดับมากที่สุดและสภาพจริงที่เป็นอยู่ อยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับกิจกรรมที่ต้องการเพื่อการพัฒนาตนเอง 3 ลำดับแรก พบว่า ลำดับที่ 1 คือ การอบรมหลักสูตรระยะสั้น ลำดับที่ 2 คือ การประชุมเพื่อระดมสมองและการประชุมวิชาการ และ ลำดับที่ 3 คือ การศึกษาดูงานในประเทศ

References

กฤษฏา บัวดก. (2564). สภาพการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ยุคดิจิทัลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(3), 234-252.

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). ทวีพริ้นท์ (1991) จำกัด.

ฉัตรชัย หวังมีจงมีและองอาจ นัยพัฒน์. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21: ปรับการเรียนเปลี่ยนสมรรถนะ. วารสารสถาบันเสริมการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์, 12(2), 47-63.

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์และปุริปุญญวิทย์ ธนนาถเชาวรินทร์. (2562). การศึกษาความต้องการการฝึกอบรมระยะสั้น. [รายงานการวิจัย คณะศิลปศาสตร์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ธีรภัทร สุขสมทรัพย์. (2557). การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมการบริหารร้านสาขาอย่างมืออาชีพสำหรับสายปฏิบัติการระดับผู้จัดการร้านในธุรกิจตัวแทนชำระค่าสินค้าและบริการ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 75-89.

นลินี พานสายตา และประวีณา คาไซ. (2560). ความต้องการในการฝึกอบรมและความคาดหวังต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพของบุคลากรสายสนับสนุนวิทยาลัยดุสิตธานี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(2), 202-219.

รัตติมา โสภาคะยัง,เพลินพิศ ธรรมรัตน์,ธวัชชัย ไพใหล. (2556). การพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านห้วยกอก 1 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มุกดาหาร . วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(49), 27-33.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และคณะ. (2555). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS ฉบับปรับปรุง (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

วลัยนุช สกุลนุ้ย. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สื่อการสอนตามความคิดเห็นของครู ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนนทบุรี. [รายงานการวิจัย]. วิทยาลัยราชพฤกษ์.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). แนวคิด ทฤษฎีและประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). หจก.ทิพย์วิสุทธิ์.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชารครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2560, 5 กรกฎาคม). หลักเกณฑ์และวิธีพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 (2556, 4 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม130 ตอนพิเศษ 130 ง. หน้า 65-71.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). รายงานประจำปี 2566 สำนักงานเลขาสภาการศึกษากับเส้นทางการพัฒนาการศึกษาไทย. กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานสร้างเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.). (2557). การยกระดับครูไทยในศตวรรษที่ 21. อภิวัฒน์การเรียนรู้..สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. อิมแพค อารีนา เมืองทองธานี.

สุกัญญา รอดระกำ. (2561). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2. Graduate School Conference 2018. (575-579). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25. วารสารการวัดผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ หาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 237-250.

สุภาพร พิศาลบุตร และยงยุทธ เกษสาคร. (2545). การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม (พิมพ์ครั้งที่ 3). ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ พริ้นติ้ง.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th Ed.). Harper Collins Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-23