การส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดModel Eliciting Activities (MEAs) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ Model Eliciting Activities(MEAs)บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Model Eliciting Activities (MEAs) 2) ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Model Eliciting Activities (MEAs) ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งหมด 39 คน เนื้อหาสาระการเรียนรู้ที่ใช้ในการวิจัย เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรและอัตราส่วนตรีโกณมิติ เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามแนวคิด MEAs จำนวน 10 แผน และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เป็นข้อสอบแบบอัตนัย จำนวน 2 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร อยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 71.79 และเรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ อยู่ในระดับดีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 97.44 2) แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด MEAs ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ สร้างโจทย์ปัญหาที่มีบริบทใกล้เคียงกับชีวิตจริง ให้นักเรียนมีการคิดวางแผนแก้ปัญหา ส่งเสริมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเมินผลการแก้ปัญหาด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่เหมาะสม และฝึกทักษะ ขยายความรู้ต่อไป
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ขวัญหทัย พิกุลทอง ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์ สิริพร ทิพย์คง และชานนท์ จันทรา. (2561). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 29(3), 13–30.
ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.
ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2556). หน่วนที่ 9 การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์. ในประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะและวิทยวิธีทางคณิตศาสตร์ Foundations and Methodologies of Mathematics Instruction (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ยุพิน พิพิธกุล. (2539). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. บพิธการพิมพ์.
วาสุกรี แสงป้อม. (2560). การคิดขั้นสูงทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาในกระบวนการแก้ปัญหา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 28(2), 95-108.
วิฬาร์ เลิศสมิตพร สมยศ ชิดมงคล และจิณดิษฐ์ ลออปักษิณ. (2560). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนว Model-Eliciting Activities ที่มีต่อความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 12(3), 425-441.
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2555). ครบเครื่องเรื่องความรู้สำหรับครูคณิตศาสตร์:หลักสูตร การสอน และการวิจัย. จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
_____. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
สิริพร ทิพย์คง. (2544). หนังสือเสริมประสบการณ์วิชาคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เรื่อง การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์. กระทรวงศึกษาธิการ.
_____. (2545). การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
อัมพร ม้าคนอง. (2554). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Dickinson, P. and Hough, S. (2012). Using realistic mathematics education in UK classrooms. https://www.mei.org.uk/app/uploads/2021/08/RME_Impact_booklet.pdf
Georgette, J.P. (2013). Active Learning using Model-Eliciting Activities and Inquiry Based Learning Activities in Dynamics. [Master’s thesis]. California Polytechnic State University.
Lesh, R., M. Hoover, B. Hole, A. Kelly, and T. Post.. (2000). Principles for developing thought-revealing activities for students and teachers. In A. Kelly and R. Lesh. (eds.). Handbook of researchdesign in mathematics and science education. (519-646). Routledge.
Lesh, R. and R. Lehrer. (2003). Models and Modeling Perspectives on the Development of Students and Teachers. Journal of Mathematical Thinking and Learning. 5(23), 109-129.
Showalter, Q. (2008). The Effect of Model-Eliciting Activities on Problem Solving Process and Student Disposition toward Mathematics. [Master’s thesis]. The University of Kansas.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม