ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นภาระงานที่มีต่อความสามารถด้านการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์และความใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นภาระงานที่มีต่อ ความสามารถด้านการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์และความใฝ่เรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • Surapong Klamboot -
  • อภิรักษ์ อนะมาน
  • สุวรรณี ยหะกร

คำสำคัญ:

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นภาระงาน, การเขียนสร้างสรรค์, ความใฝ่เรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นภาระงาน และ (2) เปรียบเทียบความใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
โดยเน้นภาระงาน

กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัชรวิทยา อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร 1 ห้องเรียน จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ (2) แบบวัดความใฝ่เรียนรู้ และ (3) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นภาระงาน จำนวน 8 แผน 18 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้สถิติทดสอบที โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสามารถด้านการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นภาระงานหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ (2) ความใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นภาระงานหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

References

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2552). เทคนิคการสร้างแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้: เอกสารประกอบการบรรยายให้กับ คณาจารย์หมวดวิชาศึกษาทั่วไป. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กองเทพ เคลือบพณิชกุล. (2542). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ณัฐสุชาวิรางค์ ไชยเดชกำจร. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ถวัลย์ มาศจรัส. (2552). การเขียนเชิงสร้างสรรค์เพื่อการศึกษาและอาชีพตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติและ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

นพวรรณ งามรุ่งโรจน์. (2561). เอกสารประกอบการสอนเรื่องความรู้เบื้องต้นของการเขียนเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ปุณยวีร์ แสงมนตรี. (2558). การพัฒนาบทเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้กลวิธีการคิดจากภาพเพื่อส่งเสริม ความสามารถในการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

วิชัย วงษ์ใหญ่และมารุต พัฒผล. (2562). การโค้ชเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

วีระพล บดีรัฐ. (2543). PDCA วงจรแห่งความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ประชาชน.

ศรัณย์พร ยินดีสุข. (2559). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้และแนวทางในการพัฒนาความใฝ่รู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. ทุนวิจัยคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2560). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560. สืบค้นจาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONET M6_2560.pdf.

__________. (2561). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561. สืบค้นจากhttp://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6_2561.pdf.

__________. (2562). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562. สืบค้นจาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6_2562.pdf.

สุทธิวรรณ อินทะกนก. (2559). การเขียนเชิงสร้างสรรค์. อุดรธานี: สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สุรัตนา อดิพัฒน์. (2561). การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นภาระงานโดยบูรณาการเทคโนโลยีสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. ทุนวิจัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2559). ก้าวข้ามขีดจำกัดสู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท พลัส.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

__________. (2554). แนวทางการพัฒนา การวัดปละประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อรวิภา มงคลดาว. (2558). แนวทางการส่งเสริมความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักศึกษานอกระบบโดยใช้บริบทชีวิตประจำวัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อัจฉรา ชีวพันธ์. (2554). กิจกรรมการเขียนเชิงสร้างสรรค์ในชั้นประถมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุไรวรรณ แซ่อ๋อง. (2553). การจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติและกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Ali Derakhshan. The Effect of Task-Based Language Teaching Instruction on the Iranian Intermediate EFL Learners’ Writing Performance. International Journal of Instruction. 11(4), pp. 527-544. Retrieved from http://www.e-iji.net/dosyalar/iji_2018_4_33.pdf.

Ellis, R. (2003). Task-based language learning and teaching. Oxford: Oxford University Press.

Lee, J. (2000). Tasks and Communicating in Language Classrooms. Boston: McGraw Hill.

Hamid Marashi and Lida Dadari. (2012). The Impact of Using Task-based Writing on EFL Learners’ Writing Performance and Creativity. Theory and Practice in Language Studies. 2(12), pp. 2500-2507. doi:10.4304/tpls.2.12.2500-2507.

Hanna Sundari, Rina Husnaini Febriyanti and Gustaman Saragih. (2018). Using Task-based Materials in Teaching Writing for EFL Classes in Indonesia. International Journal of Applied Linguistics and English Literature. 7(3), pp. 119-124. doi:10.7575/aiac.ijalel.v.7n.3p.119.

Mónica Rodríguez-Bonces and Jeisson Rodríguez-Bonces. (2010). Task-Based Language Learning: Old Approach, New Style. A New Lesson to Learn. Colombia: Universidad Nacional de Colombia.

Nunan, D. (2004). Task-based language teaching. Cambridge: Cambridge University Press.

Rai Zahoor Ahmed and Siti Jamilah Bt Bidin. (2016). The Effect of Task Based Language Teaching on Writing Skills of EFL Learners in Malaysia. Open Journal of Modern Linguistics. 6(3), pp. 207-218. doi:10.4236/ojml.2016.63022.

Reza Kafipour, Elaheh Mahmoudi and Laleh Khojasteh. (2018). The effect of task-based language teaching on analytic writing in EFL classrooms. Cogent Education. 5(1496627), pp. 1-16. doi:10.1080/2331186X.2018.1496627.

Willis, D., & Willis, J. (2007). Doing task-based learning. Oxford: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30