การพัฒนาตัวชี้วัดทักษะด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนิสิตระดับปริญญาตรี
คำสำคัญ:
ตัวชี้วัด ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น นิสิตระดับปริญญาตรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดทักษะด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนิสิตระดับปริญญาตรี 2) เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบและตัวชี้วัดทักษะด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร ชั้นปีที่ 1 - 4 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินทักษะด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนิสิตระดับปริญญาตรี แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ คำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองด้วยโปรแกรมเอ็มพลัส เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบและตัวชี้วัดทักษะด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนิสิตระดับปริญญาตรี
ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบและตัวชี้วัดทักษะด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนิสิตระดับปริญญาตรี มี 5 องค์ประกอบ 17 ตัวชี้วัด ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ทักษะการปฏิบัติหน้าที่ ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2 ทักษะในการปฏิสัมพันธ์ ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 3 ทักษะในการติดต่อสื่อสาร ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 4 ทักษะการรับฟังและสรุปความคิด ประกอบด้วย
3 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบที่ 5 ทักษะการคิดเชิงระบบ ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด โมเดลองค์ประกอบและตัวชี้วัดทักษะด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนิสิตระดับปริญญาตรี ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี มีค่าสถิติวัดระดับความกลมกลื่นระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนี้ ค่าสถิติไคสแควร์เท่ากับ 398.378 (P=0.000 ) ที่องศาอิสระเท่ากับ 94 ค่าแบบค่าดัชนีชี้วัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.952 ค่าดัชนี Tucker-Lewis (TLI) เท่ากับ 0.931 ค่าดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของเศษ (SRMR) เท่ากับ 0.041 และค่าดัชนีรากที่สองเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าเท่ากับ (RMSEA) เท่ากับ 0.009 หมายความว่า โมเดลองค์ประกอบและตัวชี้วัดทักษะด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนิสิตระดับปริญญาตรี มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตัวชี้วัดทักษะด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนิสิตระดับปริญญาตรี มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า โมเดลองค์ประกอบและตัวชี้วัดทักษะด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนิสิตระดับปริญญาตรีมีความตรงเชิงโครงสร้าง
References
จริยา บุพพารัมณีย์. (2552). ทักษะส่วนบุคคลที่ใช้ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นของผู้สอบบัญชี: มุมมองของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ญาณี วัฒนากร. (2558). การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นแห่งศตวรรษที่ 21 ของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์และคณะ. (2546). กลยุทธ์การสร้างองค์การคุณภาพ. กรุงเทพฯ: ธรรมกมลการพิมพ์.
นงลักษณ์ ใจฉลาด. (2563). องค์ประกอบและกิจกรรมตัวบ่งชี้พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม. Journal of Faculty of Education Pibulsongkram Rajabhat University, 7(1), 132-144.
ทิศนา แขมมณี (2545). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงษ์กรณ์ วีรพิพรรธน์. (2554). ผลการใช้รูปแบบจิ๊กซอว์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มัลลิกา ต้นสอน. (2544). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
สมคิด บุญเรือง. (2546). ผลการใช้โปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นของพนักงาน บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุนันทา เลาหนันทน์ (2549). เอกสารการสอนการทำงานเป็นทีม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: แฮนด์เมคสติกเกอร์แอนดีดีไซน์.
อารี เพชรผุด. (2521). มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.
อนุ เจริญวงศ์ระยับ. (2549) การแสดงหลักฐานความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบประเมินการสอนโดยผู้เรียนของมาร์ชด้วยการประยุกต์วิธีการวิเคราะห์กลุ่มพหุ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Johnson, D. W. ; Johnson, R.T. and Smith, K. A. (1991). Cooperative Learning Increasing College Faculty Instructional Productivity. Higher Education Report No. 4. Washington D.C. : The George Washington University.
Hu, L., & Bentler, P. M. (1999). Cutoff criteria for fit indexes in covariance
structure analysis: Conventional criteria versus new alternatives.
Structural Equation Modeling, 6, 1-55.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural
equation modeling (3rd ed.). New York, NY: Routledge Academic.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม