ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร 2) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารและ 4) สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหารและครู จำนวน 250 คน โดยกำหนดขนาดตัวอย่าง โดยตารางของสำเร็จรูปของทาโร่ ยามาเน่ และการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามด้านผู้บริหาร ด้านครู ด้านงบประมาณ ด้านผู้ปกครองและชุมชน ด้านอาคารสถานที่ ด้านบรรยากาศ ด้านสื่อและเทคโนโลยี มีค่าความตรงอยู่ที่ 0.67 - 1.00 และค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.96, 0.96, 0.95, 0.95, 0.93, 0.94, 0.97 และแบบสอบถามการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด คือ ด้านผู้บริหาร ด้านครู ด้านงบประมาณ 2) ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร มีความสัมพันธ์ทางบวก 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า มีปัจจัยที่ส่งผล ได้แก่ ด้านครู (x2) ด้านงบประมาณ (x3) ด้านบรรยากาศ (x6) ด้านผู้บริหาร (x1) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่า สามารถพยากรณ์การบริหารวิชาการของผู้บริหาร ได้ร้อยละ 81.00 ดังสมการพยากรณ์ดังนี้
y= 1.85 + 0.24(X2) + 0.13(X3) + 0.13 (X6) + 0.04(X1)
z= 0.52(Z2) + 0.29(Z3) + 0.19(Z6) + 0.11(Z1)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือครูการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
แกร่งกล้า สุวรรละโพลง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยพะเยา.
เขษมสร โข่งศรี. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2561). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์.20(1): 99-107.
ดวงแข มานะปรีชางามเลิศ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ดาราวรรณ กลั่นเขตร์การณ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ธนาเศษฐ์ เพ็ชรกลาง. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ธีระ รุญเจริญ. (2554). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่6). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม. (2554). การพัฒนาเครื่องมือในการประเมินหลักสูตร ในเอกสารการสอนชุดวิชาการประเมินหลักสูตร หน่วยที่ 6 หน้า 1-4. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นิตยา แสนสุข. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2544). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
_______. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พรนภา บุราณรมย์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ราตรี สอนดี. (2559). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
สัมมา รธนิธย์. (2553). หลัก ทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
_______. (2560). หลัก ทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
สายทิตย์ ยะฟู. (2560). การวิจัยทางการศึกษา. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. (2566). ข้อมูลสารสนเทศบริหารงานบุคคล (10 มิ.ย. 2566). สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2566, จาก https://www. nsw2.go.th/ wp/news/teacher-10-2566/
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียน ในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรกรแห่งประเทศไทย.
สุชาดา ถาวรชาติ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อธิวัฒน์ พันธ์รัตน์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อาฑิฏิยา โชคดีวัฒนา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
Yamene, Taro. (1967). Statistics, An introductory Analysis. (2nd Ed). New York: Harper and Row.