การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับ อินโฟกราฟิกของนักศึกษาวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์

Main Article Content

ภาวิณี รัตนคอน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจระดับความคิดสร้างสรรค์ในสภาพปัจจุบันของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป 2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิกที่มุ่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิก โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัย เป็นนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566  ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิกที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2) แบบวัดทักษะความคิดสร้างสรรค์ TCT-DP ของ Jellen, & Urban และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิก ผลการวิจัยพบว่า


            1) สภาพปัจจุบันกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับปานกลาง (= 32.97, ร้อยละ 45.79)  2) คะแนนความคิดสร้างสรรค์เฉลี่ยโดยรวมจากการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิกหลังเรียนอยู่ในระดับสูง โดยมีคะแนนแตกต่างจากก่อนเรียน (หลังเรียน = 54.81 > ก่อนเรียน = 32.97) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิกทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหาวิชา ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านการวัดประเมินผล อยู่ในระดับดี      

Article Details

How to Cite
รัตนคอน ภ. (2025). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับ อินโฟกราฟิกของนักศึกษาวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์ . วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 8(1), 339–353. https://doi.org/10.2774.EDU2025.1.270440
บท
บทความวิจัย

References

กนิษฐา พูลลาภ. (2563). การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนารี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กฤตภาส วงค์มา. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้แบบจำลองออร์บิทอลเชิงโมเลกุลแบบด้านพันธะต่อการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปฏิกิริยาการแทนที่และการกำจัดของสารแอลคิลเฮไลด์ ของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 23(4): 69-85.

ขจรพงษ ร่วมแกว. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรูแบบเปิดตามแนวคิดคอนเน็คติวิสตซึมเพื่อสงเสริมการคิดสร้างสรรค สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2566). การผลิตบัณฑิตและพัฒนาครูฐานสมรรถนะ เพื่อพัฒนากำลังคนสำหรับศตวรรษที่ 21 หรือ PTRU Model. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2567, จาก https://edu.kpru.ac.th/main/?page_id=65&lang=TH.

ชนิดาภา สว่างศรี. (2561). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยโรงเรียนเทศบาลท่าโขลง 1 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. ใน การประชุมระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10 วันที่ 27-28 มีนาคม 2561. (หน้า 1-11). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

ชมพูนุท เมฆเมืองทอง. (2564). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารด้วยเทคนิคอินโฟกราฟิกโมเดล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 15(3): 95-106.

ณัฐกานต์ ภูมิคอนสาร. (2565). ทักษะความคิดสร้างสรรค์ที่หล่นหายไปของผู้เรียนกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21. Education Journal Faculty of Education, Nakhon Sawan Rajabhat University. 5(1): 1-9.

ทิชพร นามวงศ์. (2560). การออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์. Veridian E-journal Science and Technology Silpakorn University. 4(4): 14-25.

ทิตติยา มั่นดี, สงวนศักดิ์ ปันใจแก้ว, และกันตินันท์ วงษ์เชษฐ์. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์. วารสารปัญญา. 28(2): 173-182.

ธีรพงษ์ จันเปรียง, เจนวิทย์ วารีบ่อ, และอติราช เกิดทอง. (2566). การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรนี ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) และการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 17(1): 59-71.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2562). 7 กลยุทธ์ที่ช่วยสร้างชั้นเรียนที่มีคุณภาพ. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2567, จาก https://shorturl.asia/VPeCB.

ปกรณ์ รัตนทำ. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ผสมผสานตามรูปแบบซิปปาที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปภัสรา แจ่มใส (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปอยหลวง ตันติพิสุทธิ์, งามลมัย ผิวเหลือง, และธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน. (2566). อิทธิพลของความคิดสร้างสรรค์ความฉลาดทางอารมณ์ และความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคต่อความสามารถในการเจรจาต่อรองเชิงบูรณาการของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีสุดท้าย. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 49(1): 175-198.

ไพศาล สุวรรณน้อย. (ม.ป.ป.). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning: PBL). สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2567, จาก https://ph.kku.ac.th/thai/images/file/km/pbl-he-58-1.pdf.

ภาณุพล โสมูล, และชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 18(1): 339-360.

ภาวิณี รัตนคอน, และปัทมาภรณ์ แก้วคงคา. (2564). การศึกษาความคิดสร้างสรรค์จากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับอินโฟกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 13(2): 1-17.

วนัสนันท์ ชูรัตน์. (2564). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับอินโฟกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องกรด-เบส. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วัชราภรณ์ แสนนา (2565). การพัฒนาแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (วิจัยและประเมินผลการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วันเพ็ญ นันทะศรี. (2560). การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาด้วยการเขียนแผนที่ความคิด (Mind Map). วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 14(64): 43-50.

สง่า วงค์ไชย. (2562). การเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal Silpakorn University. 12(2): 1131-1149.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2567, จาก http://thesis.swu.ac.th/swuebook/h234917v3.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2016). การคิดเชิงสร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2567, จาก https://www2.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb13.pdf.

สุวิสาข์ จรัสกมลพงศ์. (2563). รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู ในการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 31(2): 52-63.

อรณิชชา ทศตา, และกชพร ใจอดทน. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนครราชสีมา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.). 26(2): 64-78.

อรอนุตร ธรรมจักร. (2565). การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ด้วยวิธีการสะท้อนคิดจากการปฏิบัติการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 7(2): 279-299.

Cropley, A. J. (2000). Defining and Measuring Creativity: Are Creativity Tests Worth Using?. Roeper Review. 23(2): 72-79.

Jellen, G., & Urban, K. (1986). Test For Creativity Thinking Drawing Production. The Creative Child and Adult Quarterly. 11(8): 107-155.

Togrol, A. Y. (2012). Studies of the Turkish from of the Test for Creative Thinking-Drawing Production. Creative Education. 3: 1326-1331.