ผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ ผสานวรรณกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ปริศนา อาจบัณฑิตย์
ปัทมาวดี เล่ห์มงคล
อรพรรณ บุตรกตัญญู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ผสานวรรณกรรม 2) ศึกษาผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ผสานวรรณกรรมที่ส่งผลต่อทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เด็กปฐมวัยชายและหญิง อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 18 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) วรรณกรรม 2) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ผสานวรรณกรรม 3) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม และ 4) แบบประเมินทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า


            1) แผนการจัดประสบการณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นผลจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และแบบประเมินทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 มีผลการหาความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 สามารถนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ 2) ทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) เด็กปฐมวัยสามารถระบุปัญหาที่ได้จากการฟังและบอกสาเหตุของปัญหาได้ สามารถหาวิธีการแก้ปัญหาและบอกผลที่เกิดขึ้นหลังจากการแก้ปัญหาได้

Article Details

How to Cite
อาจบัณฑิตย์ ป. ., เล่ห์มงคล ป. ., & บุตรกตัญญู อ. . (2025). ผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ ผสานวรรณกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 8(1), 326–338. https://doi.org/10.2774.EDU2025.1.270426
บท
บทความวิจัย

References

ณัฎฐา มหาสุคนธ์. (2561). การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคปเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของ

นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธนิยา สายตำลึง. (2565). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นิทานเป็นฐานร่วมกับการสร้างสรรค์ศิลปะที่มีต่อความสามารถด้านการฟังและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2566). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุชอนงค์ ถิรนันทนากร. (2559). การพัฒนาความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ประกอบอาหาร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการนิเทศ). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประภาภรณ์ จังพาณิช, และวสุรัตน์ พลอยล้วน. (2566). การศึกษาสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ปี 2564. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 46(1): 41-53.

ภัสรำไพ จ้อยเจริญ. (2562). กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมสำหรับเด็กอนุบาล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยนครพนม. 9(3): 114-121.

วรรธนา นันตาเขียน. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิมล นิราพาธ. (2565). ผลการจัดประสบการณ์ทางภาษาโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอ่านสำหรับเด็กวัยอนุบาล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 33(3): 53-67.

ศิริพร ศรีจันทะ, และคณะ. (2562). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 6(1): 157-178.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). กรอบการเรียนรู้และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและคณิตศาสตร์ ในระดับปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โกโกพริ้นท์ (ไทยแลนด์).

หทัยนันท์ สิงห์แก้ว. (2566). ผลการจัดกิจกรรมการเล่านิทานปลายเปิดร่วมกับการใช้เทคนิคคำถาม R-C-A เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

หนึ่งฤทัย พาภักดี. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการฟังเพื่อความเข้าใจภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน

ร่วมกับเทคนิคการเล่าเรื่องของนักเรียนชั้นอนุบาล 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและ การสอน). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อรุณี หรดาล. (2563). สอนอย่างไรให้เด็กปฐมวัยคิดเป็น. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 10(2): 211-228.

อารีย์ เรืองภัทรนนต์, สัมมนา ติวสันต์, และอโรชา ศรีสุขปลั่ง. (2565). นิทาน : สื่อสร้างสรรค์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย.วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 14(40): 171-178.

Ehsan, H. et al. (2023). Engineering design and children: A systematic literature review. International Journal of Education in Mathematics, Science, and Technology (IJEMST). 11(3): 775-803.

English, L. (2018). Early Engineering Learning, Early Mathematics Learning and Development. Retrieved 18 December 2024, from https://doi.org/10.1007/978-981-10-8621-2_13.

Kayili, & Erdal. (2021). Children’s Problem-Solving Skills: Does Drama Based Storytelling Method work. Journal of Childhood, Education & Society. 2(1): 43-57.

Lin, X. (2021). Using an Inquiry Based Science and Engineering Program to Promote Science Knowledge, Problem-Solving Skills and Approaches to Learning in Preschool Children. Early Education and Development. 32(5): 695-713.

Milner, C. (2023). Problem Solving: How to Teach Young Children. Retrieved 26 November 2024, from

https://www.nationwidechildrens.org/family-resources-education/700childrens/2023/07/problem-

solving.

Prachagool, V. (2021). Literature and Project-Based Learning and Learning Outcomes of Young Children. Journal of International Education Studies. 14(12): 93-98.

Phumeechanya, N., & Soonthara, S. (2023). The Development of Engineering Design Process on Web Application Learning Model to Enhance Web Programming Skills for Computer Education Students. International Journal of Information and Education Technology. 13(10): 1573-1581.

Rahman. (2019). 21st Century Skill “Problem Solving”: Defining the Concept. Asian Journal of Interdisciplinary Research. 2(1): 71-81.