แนวทางการทางการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์ 2) หาแนวทาง การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และ 3) ประเมินแนวทางการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขึ้นตอน คื่อ 1) การศึกษาปัญหาการจัดการอาชีวศึกษาระบบ ทวิภาคี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 16 คน ครูนิเทศก์ 53 คน ผู้ควบคุมการฝึก 39 คน และครูฝึก 36 คน รวมทั้งสิ้น 144 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกนและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ เป็นแบบสอบถามการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ที่มีค่าความเที่ยง ตรงระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) ปัญหาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านที่มีปัญหาสูงสุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนการวัด และประเมินผล ด้านการนิเทศการเรียนระบบทวิภาคี ด้านการจัดหลักสูตร และ ด้านการจัดการฝึกอาชีพ ตามลำดับ 2) แนวทางการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ได้แก่ ด้านการจัดหลักสูตรควรมีการส่งเสริมวางแผนในการกำหนดรายวิชาให้สอดคล้องกับลักษณะงานของสถานประกอบการที่ร่วมกันจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ด้านการจัดการเรียนการสอนการวัดและการประเมินผลควรมีการส่งเสริมการอบรมและพัฒนาครูฝึกในด้านการจัดการเรียนการสอนการวัดผลและประเมินผลระบบทวิภาคี ด้านการจัดการฝึกอาชีพควรส่งเสริมสาขาวิชาที่จัดการอาชีวศึกษาในระบบทวิภาคีให้มีวัสดุ อุปกรณ์ ให้แก่ผู้เรียนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกอาชีพ ด้านการนิเทศการเรียนระบบทวิภาคีควรส่งเสริมให้ครูนิเทศก์จัดทำแผนการนิเทศตลอดภาคเรียน 3) การประเมินแนวทางการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านความถูกต้อง ด้านความหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ฐิติพงศ์ แสนอุบล. (2565, พฤศจิกายน 14). ประธานอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์. สัมภาษณ์.
ทองสุข พามี. (2565) การพัฒนาการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมนักศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี แผนกวิชาช่างยนต์ระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของวิทยาลัยการอาชีพ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม.
วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธานินทร์ ศรีชมภู, และคนอื่น ๆ. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารงาน อาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16(3): 120 - 131.
นันทิชา มารแพ้. (2561). การนำเสนอรูปแบบการวางแผนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิคสังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา).
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
นิพล แก้วกาหลง. (2564). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัย ใน
สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา).
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
ไพฑูรย์ สังข์สวัสดิ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่เหมาะสมกับประเภทวิชาช่าง
อุตสาหกรรม โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิจัยวัดผลและสถิติ
การศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิชัย มันจันดา. (2562). การบริหารการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษาจังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การบริหาการศึกษา). มหาวิทยาลัย
พะเยา.
สาธร ทรัพย์รวงทอง. (2560). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สายทิตย์ ยะฟู. (2560). การวิจัยทางการศึกษา เอกสารประกอบการสอน วิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครสวรรค์: คณะ
ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี. (2557). แนวทางปฏิบัติการจัดการ อาชีวศึกษาระบบ
ทวิภาคี ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการจัดการ อาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พ.ศ. 2557.
กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
_______. (2562). หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 1 การจัดการอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
_______. (2563). แนวทางปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐาน
การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
อิสรียา ออสุวรรณ .(2559). แนวทางการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนระบบทวิภาคี ในเขตกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.