ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดพิจิตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 2) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน และ4) สร้างสมการพยากรณ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 196 คน ที่ได้มาจากการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่, และ มอร์แกน และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามระดับปัจจัยการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มีค่าความตรงระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเที่ยงระหว่าง 0.93-0.99 และแบบสอบถามระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มีค่าความตรงระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับปัจจัยการบริหารงานวิชาการ โดยมีภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.91, S.D.=0.54) 2) ระดับการบริหาร งานวิชาการ โดยมีภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.99, S.D.=0.40) 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการบริหารงานวิชาการ มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (rxy=0.79) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง 0.62-0.79 4) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและอาคารสถานที่ (X5) ปัจจัยด้านครูผู้สอน (X2) และปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษา (X1) ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถพยากรณ์การบริหารวิชาการ ได้ร้อยละ 62.00 ดังสมการพยากรณ์ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
=1.49+0.30(X5)+0.21(X2)+0.12(X1)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
=0.48(X5)+0.25(X2)+0.18(X1)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2549). คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษา ปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกระทรวง มหาดไทย. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กัลชิญา ทองหัตถา. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
แกร่งกล้า สุวรรละโพลง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาศึกษาเอกชน จังหวัดเชียงราย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. 4(3), 85-100.
ดวงแข มานะปรีชางามเลิศ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครสวรรค์.
ดาราวรรณ กลั่นเขตร์การณ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา).
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ไทพนา ป้อมหิน, รชฏ สุวรรณกูฏ, และทัศนา ประสานตรี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร. 1(1): 128-139.
นิตยา แสนสุข. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 15(2), 163-176.
ปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์. (2560). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ปรีชา ตุ้มโท. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ปารณี เพชรสีช่วง. (2562). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ภัทราภรณ์ คล้ายแก้ว. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ราตรี สอนดี. (2559). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพงานวิชาการ ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหาร การศึกษา) มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร. (2563). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาท้องถิ่น. พิจิตร: ผู้แต่ง.
วนิดา เย็นประโคน. (2557). แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
วีรวิชญ์ อารีสวัสดิ์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเอกชน ระดับประถมศึกษาของจังหวัดเชียงใหม่ในความปกติใหม่. วารสารวิชาการร้อยแก่นสาร, 7(4), 145-159.
สมาน อัศวภูมิ. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารการประถมศึกษาระดับจังหวัด. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
สิรภัทร สิงหาจุลเกตุ. (2564). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สายทิตย์ ยะฟู. (2560). การพัฒนารูปแบบการประเมินหน่วยประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุชาดา ถาวรชาติ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อธิวัฒน์ พันธ์รัตน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อภิเชษฐ์ บุญพะยอม. (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อัศวรินทร์ แก่นจันทร์. (2562). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
อาฑิฏิยา โชคดีวัฒนา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศ์, 13(2), 255-262.