แนวทางพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 ในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร

Main Article Content

คมสันต์ กองม่วง
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะและปัญหาการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบสมรรถนะครูในสถานศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียน 3) หาแนวทางพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษากลุ่มตัวอย่างคือครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชรภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 250 คน ได้กลุ่มตัวอย่างมาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ เกี่ยวกับการศึกษาสมรรถนะและปัญหา    การพัฒนาสมรรถนะครู โดยได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน     การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า


            1) สมรรถนะครูในสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่ปฏิบัติมากที่สุด คือ ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู และด้านการบริการที่ดี ด้านที่ปฏิบัติต่ำสุด คือด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน 2) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะครูในสถานศึกษา จำแนกตามตัวแปร ด้านระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานพบว่า มีการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน แต่ในด้านขนาดโรงเรียนในภาพรวมมีผลการปฏิบัติแตกต่างกันโดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กกับโรงเรียนขนาดใหญ่ และโรงเรียนขนาดกลางกับโรงเรียนขนาดใหญ่ และ 3) แนวทางพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาสรุปได้ดังนี้ หน่วยงานต้นสังกัดควรมีการส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดทำการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม ศักยภาพของหน่วยงาน (SWOT) มีการวางแผนกำหนดงานในแผนปฏิบัติการ มีคำสั่งในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีโครงการ/กิจกรรม จัดอบรมให้ความรู้ ใช้กระบวนการ PLC จัดแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม มีการนิเทศติดตามนำรายงานผลมาพัฒนางานในปีงบประมาณต่อไปเสมอ ผู้บริหารควรเป็นแบบอย่างในการพัฒนาสมรรถนะแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา

Article Details

How to Cite
กองม่วง ค., & รักพรมงคล ภ. . (2024). แนวทางพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 ในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(2), 123–135. https://doi.org/10.2774.EDU2024.2.266052
บท
บทความวิจัย

References

พิมพันธ์ เดชะคุปต์, และพรทิพย์ แข็งขัน. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนไป. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2563). แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. กำแพงเพชร: คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

วนิดา ภูวนารถนุรักษ์. (2552). “สมรรถนะครูไทย,” รามคําแหง. 26(5): 61 – 71.

วิภาดา สารัมย์. (2562). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. ปทุมธานี: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี.

วัฒนา พัฒนพงศ์. (2555). การบริหารเพื่อมุ่งอนาคต. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2559). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. (2565). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาประจำปีการศึกษา 2565. กำแพงเพชร: ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะหลัก. นนทบุรี: บริษัทประชุมช่าง จํากัด.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงานคณะกรรมการ. (2552). หลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจ การบริหารและการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size of research activities. Education and Psychological Measurement. 30(3): 608-609.

McClelland, D. C. (1993). Test for competence rather than for intelligence. American Psychologist. 28: 1-14.

Spencer, L. M., & Spencer, S. M. (1993). Competence at work: Model for superior performance. New York: Wiley.