การพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือ โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง พยัญชนะและสระภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถ ด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ณัฐพร จัดสวย
กิตติยา ปลอดแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันบนมือถือ โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง พยัญชนะและสระภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียน                          ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1           ที่เรียนด้วยแอปพลิเคชันบนมือถือ โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง พยัญชนะและสระภาษาไทย และ 3) เปรียบเทียบความสามารถ               ด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยแอปพลิเคชัน                บนมือถือ โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง พยัญชนะและ สระภาษาไทย กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแป้น จำนวน 12 คน ปีการศึกษา 2566 โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) แอปพลิเคชันบนมือถือ โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่องพยัญชนะและสระภาษาไทย ผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 และมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.33/88.33 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 แผน ผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และ 4) แบบประเมินความสามารถการอ่านและการเขียนสะกดคำ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า


            1) แอปพลิเคชันบนมือถือ โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง พยัญชนะและสระภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถ                   ด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำ ผลการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ภาพรวมผลการประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชันอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 และมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.33/88.33 2) นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำหลังเรียนเท่ากับ 16.00 สูงกว่าคะแนนก่อนเรียนเท่ากับ 11.33                     และ 3) นักเรียนมีคะแนนประเมินความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำหลังเรียนเท่ากับ 12.67 สูงกว่าก่อนเรียน เท่ากับ 3.42

Article Details

How to Cite
จัดสวย ณ. ., & ปลอดแก้ว ก. . (2024). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือ โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง พยัญชนะและสระภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถ ด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(2), 50–63. https://doi.org/10.2774.EDU2024.2.265460
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

_______. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

_______. (2559). ร่างกรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

_______. (2563). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2563. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กาญจนา โพธิลักษณ์. (2554). การใช้เกมเสริมทักษะการอ่านคำที่มีตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิงเมือง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนภาษาไทย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ณัฐพงศ์ เชื้อเพชร. (2560). สภาพและแนวทางแก้ไขปัญหาการอ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ประถมศึกษา). มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทักษิณ คุณพิภาค. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด ที่ส่งผลต่อทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ความพึงพอใจต่อการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (การวิจัยและพัฒนาการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เบญจพร พลไกร. (2565). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านสะกดคำภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning) ร่วมกับแนวคิดเกมิฟิเคชั่น (Gamification) สำหรับนักเรียนที่มีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning loss) ในสถานการณ์การโควิด-19 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต (ภาษาไทย). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เบญจมาศ พึ่งน้า, และอัมพร วัจนะ. (2562). ผลการเรียนด้วยแอปพลิเคชันสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองบนสมาร์ทโฟน วิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตกพรมวิทยาคาร จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 12(1): 185 – 194.

บุบผา เรืองรอง. (2555). เกมการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2565, จาก http://taamkru.com/th/เกมการศึกษา.

พิชญ์สินี พุทธิทวีศรี, และนงเยาว์ นุชนารถ. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันพิชิตแดนอาเซียนเพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

เพ็ญนภา บางหลวง. (2560). การใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคําพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนและเทคโนโลยีการเรียนรู้). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรัตต์ อินทสระ. (2562). เอกสารประกอบการอบรมปฏิบัติการ เรื่อง Game Based Learning The Latest Trend Education 2019 เปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้องเล่น. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2565, จาก https://wbsc.dusit.ac.th/pluginfile.php/534/mod_forum/attachment/4320/GBL%20DOC.pdf.

สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). คู่มือการจัดสอบการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

คุรุสภาลาดพร้าว.

สมนึก สิมพงษ์. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นกล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนภูเวียงวิทยาคมโดยใชวิธีสอนแบบ 5E. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.ska2.go.th/reis/?name=research&file=readresearch&id=441.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555ก). คู่มืออบรมปฏิบัติการบูรณาการใช้คอมพิวเตอร์พกพา (Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน.

_______. (2555ข). คู่มืออบรมสร้างสื่อการเรียนรู้สู่แท็บเล็ต. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

_______. (2563). รายงานผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test: RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพฯ: จี เอ็น ที.

_______. (2564). รายงานผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test: RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564. กรุงเทพฯ: จี เอ็น ที.

_______. (2565). รายงานผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test: RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565. กรุงเทพฯ: จี เอ็น ที.

เสงี่ยม เวียงคำ. (2550). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำยากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เกม. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ประถมศึกษา). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา, และสรเดช ครุฑจ้อน. (2560). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยเทคนิคการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 10(2): 227 – 236.