การพัฒนาห้องเรียนเสมือน เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

สุรียาฉาย ปิ่นแก้ว
ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของห้องเรียนเสมือน เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยห้องเรียนเสมือน เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยห้องเรียนเสมือน เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านทุ่งเฮ้า จำนวน 9 คน ที่เรียนในปีการศึกษา 2566 โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1) ห้องเรียนเสมือน เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 2) แบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหา เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ มีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.20-0.80 และอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.20-1.00 3) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนด้วยห้องเรียนเสมือน เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.50 -1.00 และ 4) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ มีค่าความยากง่าย อยู่ระหว่าง 0.20-0.80 และอำนาจจำแนก  อยู่ระหว่าง 0.20-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ      ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


            1) ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของห้องเรียนเสมือน เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมพบว่า ห้องเรียนเสมือนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก และผลการหาค่าประสิทธิภาพของห้องเรียนเสมือน เท่ากับ 80.67/82.25 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยห้องเรียนเสมือน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 18.44 และคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 26.11 แสดงให้เห็นว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยห้องเรียนเสมือน เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (μ = 4.86)

Article Details

How to Cite
ปิ่นแก้ว ส. ., & บัวกนก ฟ. ฌ. . (2024). การพัฒนาห้องเรียนเสมือน เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(2), 37–49. https://doi.org/10.2774.EDU2024.2.265446
บท
บทความวิจัย

References

คมสัน อินทะเสน, และคณะ. (2560). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐศาสตร์บัณฑิต(รัฐศาสตร์). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2557). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: วีพรินทร์ (1991).

ณัฐชนันท์ จันทคุปต์, และคณะ. (2565). การพัฒนาห้องเรียนเสมือนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา สำหรับพัฒนาทักษะที่จำเป็นของครูในศตวรรษที่ 21. นครปฐม: สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภัสนันท์ สุวรรณวงศ์. (2559). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ เรื่องการออกแบบการเรียนการสอนและการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนเสมือนจริงบนคราวด์คอมพิวติ้ง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

พรนภา เตียสุทธิกุล. (2556). การวัดระดับเจตคติในการดำเนินงานด้านการสาธารณสุข. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์. 8(4): 214-225.

พัฒนา พรหมณี, และคณะ. (2563). แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน. APHEIT JOURNAL. 26(1): 59-66.

ภวิสาณัชช์ ศรศิริวงศ์. (2564). ห้องเรียนเสมือนจริง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 19(2): 81-93.

รศรงค์ พัฒนาอนุสรณ์, และคณะ. (2557). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การเลือกซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงานสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 1(2): 29-35.

โรงเรียนบ้านทุ่งเฮ้า. (2563). รายงานผลการประเมินตนเองของโรงเรียนบ้านทุ่งเฮ้า ปีการศึกษา 2563. น่าน: ผู้แต่ง.

วนัสนันท์ ชูรัตน์. (2564). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับอินโฟกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง กรด-เบส. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน.