ผลการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่มีต่อความสามารถในการพูดและเขียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการพูดและเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการพูดและเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1) แผนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด 2) แบบวัดความสามารถในการพูด มีค่าความยากระหว่าง 0.52 - 0.59 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.41 – 0.64 และค่าความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมินเท่ากับ 0.98 และ 3) แบบวัดความสามารถในการเขียน มีค่าความยากระหว่าง 0.50 - 0.70 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.33 - 0.55 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระจากกัน และการทดสอบแบบทีกรณีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า
1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร มีความสามารถในการพูดหลังเรียน (=19.23, S.D.=1.04) สูงกว่าก่อนเรียน (
=9.87, S.D.=1.69) และมีความสามารถในการเขียนหลังเรียน (
=41.85, S.D.=3.10) สูงกว่าก่อนเรียน (
=25.90, S.D.=3.30) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร มีความสามารถในการพูดและเขียน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิชาการ. (2545). คู่มือการพัฒนาสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กิ่งแก้ว รัชอินทร์. (2553). แหล่งรวมความรู้ จาก..กิ่งแก้ว รัชอินทร์: แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565, จาก http:/kingkaew2010. blogspot.com/2010/11/blog-post_06.html.
กุลยา เบญจกาญจน์. (2530). การสอนไวยากรณ์เพื่อการสื่อสาร. มิตรครู. 29(5): 22 - 25.
เฌอร์ลิล พันธุ์สะอาด. (2562). การพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ณัชปภา โพธิ์พุ่ม. (2561). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัด สุรินทร์โดยใช้กระบวนการของทฤษฎี CLT. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์.
ทิพย์วรรณ ธงภักดิ์. (2553). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยวิธีการสอนเพื่อการสื่อสารที่เน้นการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปัทมา วาสสามัคคี. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 9(1): 65 -74.
รัมยาภรณ์ สุขเกษม. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่เน้นการฟัง – พูดและการเสริมแรงบวกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม. (2564). รายงานการประเมินตนเองของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ปีการศึกษา 2564. นครสวรรค์: กลุ่มบริหารวิชาการ.
วราพรรณ จิตรัมย์. (2559). ผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนรู้เทคนิค CLT. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2564. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2565, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/ AnnouncementWeb/Login.aspx.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถาบันภาษาอังกฤษ. (2557). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2548). การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สุพรรษา ทิพย์เที่ยงแท้. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นชะอำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการนิเทศ). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). วิธีสอนภาษาอังกฤษ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Allwright, D. (1983). Exploratory Practice: Rethinking Practitioner Research in Language Teaching. language teaching research. 7(2): 167.
Brown, H. D. (2000). Principles of Language Learning and Teaching. (4th ed.). New York: Longman.
Dueraman, B. (2013). Focus on Thai learners of English: Their self-reports about foreign language learning. International Research Journal of Arts and Social Sciences. 2(7): 176-186. Retrieved September 3, 2017 from http://www.interesjournals.org/full-articles/focus-on-thai-learners-of-English-their- self-reports-about-foreign-language-learning.pdf?view=inline.
Finocchiaro, M., & Brumfit, C. (1983). The Functional - Notional Approach from Theory to Practice. Oxford: Oxford University Press.
Heaton, J. B. (1990). Writing English Language Test. London: Group.
Johnson, K., & Morrow, K. (1986). Principles of Communicative Methodology in Communication in the Classroom. Hong Kong: Longman - Hill.
Larsen - Freeman, D. (2000). Techniques and Principles in Language Teaching. (2nd ed.). Oxford: Oxford University Press.
Littlewood, W. (1981). Communicative Language Teaching. Cambridge: Cambridge University Press.
Pawapatcharaudom, R., (2007). An investigation of Thai students’ English language problems and their learning strategies in the international program at Mahidol University. Bangkok: Master’s thesis. Mahidol University.
Richards, J., & Rodgers, S. (2001). Approaches and Methods in Language Teaching: A Description and Analysis. Cambridge: Cambridge University Press.
Savignon, S. J. (1972). Communicative Competence: Theory and Classroom Practice. Texts and Contexts in Second Language Learning, Reading. Massachusetts: Addison - Wesley.
_______. (1983). Communicative Competence: Theory and Classroom Practice Reading. Reading, MA: Addison-Wesley.